นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
50 นิตยสาร สสวท. “ระบบการศึกษาของเราเตรียมความพร้อมให้เยาวชนสามารถดำ �เนินชีวิต ด้วยความผาสุกในโลกแห่งความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 แล้วหรือไม่” สะท้อนประเด็น จากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน ดร.นันทวัน สมสุข รักษาการผู้อำ �นวยการสำ �นักวิชาการวัดและประเมินผล สสวท. e-mail: nnant@ipst.ac.th สุชาดา ปัทมวิภาต ผู้ชำ �นาญ สาขาการวัดและประเมินผลระดับนานาชาติ สสวท. e-mail: sthai@ipst.ac.th ค ำ �ถามนี้นำ �มาสู่การริ เริ่ มการประเมินผลทางการศึกษา ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เราคุ้นชื่อกันว่า “PISA” ซึ่งย่อมาจาก Programme for International Student Assessment หรือ โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชน มีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำ �เป็นต่อการดำ �รงชีวิตในโลกที่มี การเปลี่ยนแปลง PISA ประเมินนักเรียนช่วงอายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นวัยที่สำ �เร็จ การศึกษาภาคบังคับ โดยเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับ การใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง หรือเรียกว่า “ความฉลาดรู้” (Literacy) ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ความฉลาดรู้ ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical literacy) และความฉลาดรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy) การประเมินนักเรียนจะประเมินทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยการประเมินแต่ละครั้งจะมีหนึ่งด้าน ที่เน้นเป็นหลักซึ่งจะหมุนเวียนไปในแต่ละรอบการประเมิน ทั้งนี้ ความฉลาดรู้ ทั้งสามด้านนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำ �เป็นสำ �หรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ ประชากรจำ �เป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ ประเทศ PISA ได้เริ่มดำ �เนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 (PISA 2000) และ มีการประเมินอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปี เพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง คุณภาพการศึกษาและมุ่งให้ข้อมูลแก่ระดับนโยบาย ปัจจุบันเข้าสู่การประเมิน รอบ PISA 2022 โดยมีประเทศเข้าร่วมการประเมินมากกว่า 80 ประเทศ สำ �หรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA ตั้งแต่การประเมินรอบแรก จนถึงปัจจุบัน และมีสถานะเป็นประเทศสมาชิกสมทบ (Associates) โดยมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทำ �หน้าที่ เป็นศูนย์แห่งชาติ (National Center) ดำ �เนินการเก็บข้อมูลการวิจัย ผลการประเมิน PISA มีความสำ �คัญอย่างยิ่งเนื่องจากสามารถ บ่งบอกข้อมูลต่อเนื่องให้แก่ระดับนโยบายในการกำ �หนดสิ่งที่ควรพัฒนาใน ระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ PISA ยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัด คุณภาพการศึกษาในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (IMD World Competitiveness Ranking) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ ของประชากรในประเทศในการพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันและ ความน่าลงทุนของประเทศอีกด้วย สำ �หรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA มาตั้งแต่ PISA 2000 จากผลการประเมินพบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่ การประเมิน PISA 2000 จนถึง PISA 2018 ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีนัยสำ �คัญ นอกจากนี้ ใน PISA 2018 ยังพบว่า มีนักเรียนไทย ที่มีความสามารถทางการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ ระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) ขึ้นไป ประมาณ 40%, 47%, และ 56% ตามลำ �ดับ ดังแสดงในภาพ 1 ทั้งนี้ ในจำ �นวนนี้มีนักเรียนไทยเพียง 0.2% ที่มี ความสามารถทางการอ่านในระดับสูง (ระดับ 5 และระดับ 6) ส่วนประเทศ สมาชิก OECD มีนักเรียนในกลุ่มประมาณ 9% มีความสามารถด้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTUzMTk1Mw==