นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561
9 ปีที่ 46 ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561 ส� ำหรับชื่อของธาตุที่ถูกค้นพบใหม่ 3 ใน 4 ถูกตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบ ได้แก่ ธาตุ nihonium (Nh) ถูกสังเคราะห์ ขึ้นที่ห้องปฏิบัติการ RIKEN Nishina Center for Accelerator-Based Science ประเทศญี่ปุ่น ค� ำว่า “nihon” ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ญี่ปุ่น หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงแดนอาทิตย์อุทัย นับเป็นธาตุแรกที่ถูกค้นพบในเอเชีย ธาตุ moscovium (Mc) และธาตุ tennessine (Ts) ค้นพบโดยความร่วมมือของสถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ (The Joint Institute for Nuclear Research: JINR) ซึ่งมีสมาชิกทั้งในประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยธาตุ moscovium มาจาก ค� ำว่า “moscow” ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย มีความเจริญทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการศึกษา และยังเป็น ที่ตั้งของสถาบัน JINR ที่ท� ำการทดลองสังเคราะห์ธาตุ Mc ด้วย และธาตุ tennessine มาจากค� ำว่า “Tennessee” ซึ่งเป็นชื่อ รัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัย Oak Ridge National Laboratory มหาวิทยาลัย Vanderbilt และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเทนเนสซี่ ณ เมือง Knoxville ที่ได้ท� ำการวิจัยร่วมกับสถาบัน JINR เพื่อทดลองสังเคราะห์ธาตุ Ts ส่วนธาตุ oganesson (Og) เป็นธาตุเดียวที่ตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับศาสตราจารย์ Yuri Organessian (เกิดในปี ค.ศ. 1933) ซึ่งยังมีชีวิตและเป็นผู้ได้อุทิศตนให้แก่การศึกษาวิจัยธาตุในกลุ่ม transactinoid หรือ transactinides หรือ superheavy elements การสังเคราะห์ธาตุ Og เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสถาบัน JINR ประเทศรัสเซีย และสถาบัน Lawrence Livermore National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา ธาตุทั้งสี่เหมือนและแตกต่างอย่างไร สมบัติที่ว่าเหมือนกันคือ ธาตุทั้งสี่เป็น ธาตุสังเคราะห์ (Manmade) ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยา นิวเคลียร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นธาตุกัมมันตรังสี และเป็นธาตุในกลุ่ม transactinoid แต่ธาตุทั้งสี่ก็มี สมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเรียง อิเล็กตรอนในอะตอม มวลอะตอม จ� ำนวนไอโซโทป และครึ่งชีวิต อย่ างไรก็ตามการค้ นพบธาตุทั้งสี่ได้ ท� ำให้ตารางธาตุปัจจุบันมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทุกธาตุมีชื่อและสัญลักษณ์ของตัวเอง นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังคงด� ำเนินการค้นหาธาตุต่อจาก คาบที่ 7 ในตารางธาตุ อีกต่อไปด้วย ที่มา https://chemiis.files.wordpress.com/2016/06/e0b898e0b8b2e- 0b895e0b8b8e0b983e0b8abe0b8a1e0b988.jpg?w=646 บรรณานุกรม Burge, J. & Overby, J. (2017). Chemistry Atoms First . 3rd ed. New York: McGraw-Hill. Periodic table. (2016). Retrieved December 15, 2017, from http://www.rsc.org/periodic-table. Reedjik, J. (2016). How to name new chemical elements. Retrieved December 8, 2017, from https://iupac.org/recommendation/ how-to-name-new-chemical-elements. Soby L. M. (2016). IUPAC is naming the four new elements nihonium, moscovium, tennessine and ogness ognesson. Retrieved December 8, 2017, from https://iupac.org/iupac-is-naming-the-four-new-elements-nihonium-moscovium-tennessine-and-oganesson.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTUzMTk1Mw==