นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561
15 ปีที่ 46 ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561 4. ในการตอบค� ำถามที่ 2 ผู้เรียนจะจับคู่ของจ� ำนวนจุดบนรูปคลี่ ดังภาพ 7 เพื่อตรวจสอบผลรวมจ� ำนวนจุด ที่อยู่บนด้านตรงข้ามของลูกเต๋าทั้ง 3 คู่ ว่าเท่ากับ 7 หรือไม่ ถ้าพบว่า คู่ใดที่ผลรวมจ� ำนวนจุดที่อยู่บน ด้านตรงข้ามไม่เท่ากับ 7 สามารถสรุปได้ว่า รูปคลี่นั้นเมื่อพับเป็นลูกเต๋าแล้ว จะไม่เป็นไปตามกฎของลูกเต๋า ที่ว่าผลรวมของจุดบนด้านตรงข้ามต้องเท่ากับ 7 ภาพ 7 การจับคู่ของจ� ำนวนจุดบนรูปคลี่ คู่ที่ 1 คู่ที่ 2 คู่ที่ 3 ผลสรุปที่ได้จากการจัดกิจกรรม ข้อเสนอแนะ ในการตอบค� ำถามที่ 1 ผู้เรียนต้องแสดงวิธี คิดค� ำตอบ โดยอาศัยความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติ รวมทั้งการบวก ลบ หรือคูณจ� ำนวนนับในการแก้ปัญหา ส่วนการตอบค� ำถามที่ 2 ผู้เรียนจะต้อง พิจารณารูปแบบของรูปคลี่ที่ใช้สร้างลูกเต๋าว่าเมื่อพับแล้ว ได้ผลรวมของจ� ำนวนจุดบนด้านตรงข้ามกันเท่ากับ 7 หรือไม่ ซึ่งอาศัยความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปคลี่ ของรูปเรขาคณิตสามมิติ รวมทั้งการบวกจ� ำนวนนับ ในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ ในการท� ำกิจกรรมผู้เรียนยังได้ใช้ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ฝึกการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วน� ำข้อมูลมาใช้ในการตอบ ค� ำถาม รวมทั้งได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในกิจกรรมนี้ ผู้จัดกิจกรรมสามารถปรับค� ำถามหรือเพิ่มค� ำถามได้ โดยควรค� ำนึงถึง ความเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและระยะเวลาในการจัดกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างข้อสอบ PISA ที่สามารถน� ำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลด ได้ที่ http://pisathailand.ipst.ac.th บรรณานุกรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555), ตัวอย่างข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 , กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTUzMTk1Mw==