นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561

30 นิตยสาร สสวท ช่องเขาทาคาชิโฮมีส่วนที่เป็น โกรกธาร (Gorge) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของร่องน�้ ำประกอบ กับธารเป็นลักษณะของหุบผาชันที่ลึกและแคบ ลักษณะคล้ายรูปตัววี (V-shape) เกิดจากกระบวนการ กัดเซาะที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยกระแส น�้ ำไหล จนสามารถกัดเซาะหินที่แข็งแกร่งได้ มักเกิด ในกรณีที่มีธารน�้ ำเดิมอยู่ก่อน ต่อมาได้เกิดการยกตัว ของแผ่นดิน แต่ธารน�้ ำยังคงรักษาแนวร่องน�้ ำเดิม ไว้ได้ เนื่องจากในการกัดเซาะแผ่นดินที่ยกตัวสูงได้ อย่างรวดเร็วและรุนแรง ในประเทศไทยมีพบโกรกธาร ที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ภาพ 3 โกรกธารที่ ช่องเขาทาคาชิโฮ ภาพ 4 ไลเคน ในระหว่างทางเดินชมธรรมชาติ เราพบไลเคน และพืชไร้ดอก มอสส์ เฟิร์น ขึ้นอยู่ทั่วไป ไลเคน (Lichen) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรา และสาหร่ายสีเขียวอยู่ร่วมกัน หรือรากับไซยาโน แบคทีเรีย โดยราจะได้อาหารและแก๊สออกซิเจน จากสาหร่าย ส่วนสาหร่ายก็จะได้ความชื้นและแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วย แสงจากรา นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนี ในการวัดมลพิษทางอากาศได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTUzMTk1Mw==