นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 210 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561
52 นิตยสาร สสวท บรรณานุกรม Colls, J. & Tiwary, A. (2009). Air Pollution. Routledge/Taylor and Frameis. ในขณะที่ความคิดแก้ไขต่างๆ ยังไม่ได้ด� ำเนินการ อย่างจริงจังและเข้มงวด การติดตามและป้องกันมลภาวะ ของอากาศอย่างสม�่ ำเสมอ จึงเป็นเรื่องจ� ำเป็น ด้วยเหตุนี้ คนขายของข้างถนนในเมืองเดลี จึงนิยมใช้ผ้ากรองคลุมจมูก ไม่ให้ละอองฝุ่นเข้าร่างกาย ส่วนคนป่วยด้วยโรคหอบหืดก็ได้รับ ค� ำแนะน� ำให้ย้ายออกไปรักษาตัวนอกเมืองเป็นการชั่วคราว เมื่อข้อมูลของมลภาวะเป็นเช่นนี้ นั่นหมายความว่า ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองใหญ่ก� ำลังตกอยู่ในอันตราย กระนั้น รัฐบาลในหลายประเทศก็ยังไม่มีวาระแห่งชาติส� ำหรับเรื่องนี้ ดังนั้น หน่วยงานเอกชนจึงก� ำลังเดินหน้าผลิตเครื่องวัด มลภาวะของอากาศในรูปของอุปกรณ์พกพา เพื่อใช้รายงาน คุณภาพของอากาศให้คนในเมืองรู้ในทันที แทนที่จะต้องคอย ฟังรายงานสภาพอากาศจากทางการ อุปกรณ์วัดมลภาวะของอากาศแบบพกพาจะ ท� ำหน้าที่วัดความเข้มข้นของ PM2.5 ละอองฝุ่นก� ำมะถัน แก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) ที่เป็นพิษต่อสุขภาพ แต่ราคาของอุปกรณ์เหล่านี้ยังสูง คือ ประมาณ 60,000 บาทต่อเครื่อง ตามราคาที่บริษัท United Nations Environment Programme ได้ ตั้งไว้ ในปีพ.ศ. 2558 และยังมีปัญหาเรื่อง ความแม่นย� ำในการวัด เพราะตามปกติ แก๊ส NO 2 ที่มีในอากาศ จะมีความเข้มข้น ประมาณ 1 ในพันล้านส่วน ซึ่งความเข้มข้น ที่น้อยมากเช่นนี้ เวลามันอยู่รวมกับไอน�้ ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) และสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ จะท� ำให้การวัดค่า มลภาวะอย่างแม่นตรงเป็นเรื่องยาก บริษัทเอกชนจึงจ้างนักเคมีที่มีความเชี่ยวชาญ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของบรรยากาศ มาสร้างอุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ที่ท� ำงานโดยใช้หลักการดูดกลืนแสงของอนุภาค ขนาดเล็ก และเป็นคนที่มีความรู้เรื่องอันตรกริยาระหว่างโมเลกุล ของแก๊สกับเครื่องวัด เพราะถ้าจะให้อุปกรณ์วัดมลภาวะได้ อย่างถูกต้องในทุกประเด็น อุปกรณ์จะมีราคาแพงมาก ดังนั้น บริษัทจึงออกแบบอุปกรณ์ที่สามารถวัดได้เฉพาะบางเรื่อง เช่น ปริมาณของออกไซด์โลหะ (Metal Oxide) เพียงประเด็นเดียว อุปกรณ์ขนาดเล็กจะมีราคาประมาณ 500 บาท แต่ถ้าจะให้ วัดความเข้มข้นของละอองฝุ่นด้วย อุปกรณ์ก็อาจจะมีราคา สูงถึง 15,000 บาทต่อเครื่อง และตามปกติอุปกรณ์จะท� ำงานได้ดี ในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น และมลภาวะมีความเข้มข้น มากถึง 1 ในล้านส่วน เมื่อความแม่นย� ำในการวัดไม่มีความส� ำคัญมาก ส� ำหรับประชาชนทั่วไป ดังนั้นความคาดหวังของคนส่วนใหญ่ คือการมีอุปกรณ์พกพาเพียงเพื่อเตือนภัย เพราะการเตือน จะช่วยคนที่ก� ำลังป่วยเป็นโรคหืดหอบให้รีบไปหายามารักษา ก่อนที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิต การรู้ภัยมลภาวะของอากาศ นอกจากจะช่วย ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการปล่อยแก๊สพิษของ โรงงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังช่วยควบคุมการบริหาร โรงงานด้วยว่า สมควรจะแก้ไขอย่างไร หรือไม่ ดังนั้นการมีอุปกรณ์ตรวจวัดมลภาวะของอากาศ ที่ท� ำงานได้ดี คือว่องไวและถูกต้อง จะเข้ามามีบทบาทมาก ในการก� ำหนดรูปแบบการท� ำงานของเครื่องจักรที่ใช้ในวงการ อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อช่วยให้สังคมมีความรู้เกี่ยวกับ เรื่องนี้ เป็นการประกันคุณภาพและชีวิตของคนในสังคม ให้ดีขึ้น ที่มา https://www.childhealthinitiative.org/media/460927/ air-pollution-india.jpg ภาพ 3 อุปกรณ์วัดมลภาวะของอากาศแบบพกพา ที่มา http://www.szflus.com/wp-content/uploads/ sites/56/2017/12/442170167123781307- 600x600.jpg
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTUzMTk1Mw==