นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

11 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 ดร.ณัฐธิดา พรหมยอด • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. • e-mail: nprom@ipst.ac.th รอบรู้ วิทย์ การสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ CER (Claim, Evidence, and Reasoning) การสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะส�ำคัญที่สะท้อนหรือสื่อถึงความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (National Research Council, 2012) แต่ยังเกิดขึ้นน้อยมากในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การสอนแบบบรรยายหรือการจัดกิจกรรมการทดลอง และไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึก การอภิปรายหรือสร้างค�ำอธิบายของตนเอง ต่อเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ตนก�ำลังศึกษา เนื่องจากมีข้อจ�ำกัดด้านเวลา เนื้อหาและกิจกรรมในวิชาวิทยาศาสตร์แต่ละชั้นปีมีมาก ครูหลายคนอาจไม่เห็นความส�ำคัญในการกระตุ้นให้ ผู้เรียนสามารถสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มฝึกผู้เรียนอย่างไร และหลายคนก็ไม่เชื่อว่า ผู้เรียนจะสามารถสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้ จึงเห็นได้ว่าหลังการท�ำกิจกรรมแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ ครูจึงเป็นผู้สรุปแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนในแต่ละกิจกรรม การสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการส�ำคัญที่ครูควรเน้นย�้ำให้เกิดขึ้นในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ทุกระดับ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารความเข้าใจของตนเองในเรื่องที่ก�ำลังศึกษาอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยแสดง ความเชื่อมโยงระหว่างค�ำตอบกับหลักฐานที่ค้นพบประกอบกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมกันเป็นค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อตอบค�ำถามหรือปัญหาที่ก�ำลังศึกษามากกว่าที่จะเป็นการน�ำเสนอเฉพาะค�ำตอบสั้นๆ กระบวนการเรียนรู้แบบ CER (Claim, Evidence, and Reasoning) เป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียน วิทยาศาสตร์ และพัฒนาการสร้างค�ำอธิบายเพื่อตอบค�ำถามทางวิทยาศาสตร์ (Allen & Rogers, 2015; Zembal-Saul, McNeil, & Hershnerger, 2013) ซึ่งปัญหาโดยทั่วไปของผู้เรียนไทย คือ ไม่สามารถสื่อสารความเข้าใจของตนเอง หรือโน้มน้าว ให้ผู้อื่นเชื่อถือค�ำตอบของตนเองได้ เนื่องจากไม่เคยฝึกฝนวิธีการสื่อสารค�ำตอบทางวิทยาศาสตร์ทั้งการเขียน การพูดน�ำเสนอ และการอภิปรายโต้แย้ง ดังนั้น เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ครูต้องจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้สังเกตหรือลงมือท�ำกิจกรรมผ่านวิธีการต่างๆ เพื่อให้เข้าใจในปรากฏการณ์ที่ก�ำลังศึกษา และมีข้อมูลเพียงพอที่จะน�ำมา ประกอบค�ำอธิบายเพื่อตอบค�ำถามได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1