นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
12 นิตยสาร สสวท กระบวนการเรียนรู้แบบ CER ประกอบด้วย ค�ำตอบหรือข้อสรุป (Claim) เป็นการสร้างค�ำตอบหรือข้อสรุปจากการทดลองหรือการท�ำกิจกรรม เช่น หลักฐานที่น�ำมาสนับสนุนค�ำตอบ (Evidence) อาจได้จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการทดลองหรือจากการสังเกต โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้อง และมากเพียงพอที่จะสนับสนุนค�ำตอบ เพื่อให้ค�ำตอบมีความน่าเชื่อถือ เช่น ค�ำถาม: เมื่อปล่อยวัตถุจากมือ วัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร ค�ำตอบ: วัตถุจะตกลงสู่พื้น การตอบค�ำถามสั้นๆ ท�ำให้ค�ำตอบนั้นดูไม่มีน�้ำหนักหรือขาดความน่าเชื่อถือ จึงต้องอาศัยหลักฐาน มาสนับสนุน ค�ำถาม: เมื่อปล่อยวัตถุจากมือ วัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร ค�ำตอบ: วัตถุจะตกลงสู่พื้น หลักฐาน: เมื่อปล่อยวัตถุต่างๆ จากมือ เช่น ฟองน�้ำ แท่งไม้ ลูกบอล ใบไม้ พบว่าวัตถุทุกชนิด จะตกลงสู่พื้นเสมอ ค�ำถาม: เมื่อปล่อยวัตถุจากมือ วัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร ค�ำตอบ: วัตถุจะตกลงสู่พื้น หลักฐาน: เมื่อปล่อยวัตถุใดๆ พบว่าวัตถุทุกชนิด จะตกลงสู่พื้นเสมอ เหตุผล: โลกมีแรงโน้มถ่วงกระท�ำต่อวัตถุทุกชนิดที่อยู่ บนโลก ส่งผลให้วัตถุไม่ล่องลอยอยู่ในอากาศ แต่จะตกลงสู่พื้นโลกเสมอ เหตุผล (Reasoning) เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างสมเหตุ สมผลระหว่างค�ำตอบกับหลักฐาน โดยต้องแสดงให้เห็นว่าเพราะเหตุใด หลักฐานนี้จึงเหมาะสมในการน�ำมาใช้สนับสนุนค�ำตอบ โดยใช้เหตุผล หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประกอบ เช่น EVIDENCE EVIDENCE EVIDENCE REASONING CLAIM ความสัมพันธ์ระหว่างค�ำตอบ หลักฐาน และเหตุผล (McNeil & Krajcik, 2012) การน�ำค�ำตอบ หลักฐาน และเหตุผลมาประกอบกัน จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มี ความน่าเชื่อถือ โดยผู้เรียนต้องคิดหรือสะท้อนกับตัวเองตลอดเวลาที่ก�ำลังเรียนรู้ว่า ค�ำตอบของตนคืออะไร มีหลักฐานอะไร มาสนับสนุน และเชื่อมโยงให้ได้ว่าหลักฐานนั้นช่วยสนับสนุนค�ำตอบของตนอย่างไร ค�ำตอบ/ข้อสรุป + หลักฐาน + เหตุผล = ค�ำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1