นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
15 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 บรรณานุกรม Allen, J. & Rogers. M. P. (2015). Formulating scientific explanations using the Claim, Evidence, and Reasoning (CER) framework. Science and Children , 32-37. McNeil, K. & Krajcik, J. (2012). Supporting Grade 5-8 Students in Constructing Explanations in Science: The Claim, Evidence. And Reasoning Framework for Talk and Writing . New York, NY: Pearson & Bacon. National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practice, Crosscutting Concepts, and Core Ideas . The National Academies Press. Zembal-Saul, C., McNeil, K., & Hershberger, K. (2013). What’s your evidence?: Engaging K-5 Children in Constructing Explanations in Science. New York: Pearson & Bacon. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค. ผู้เรียนสามารถน�ำ หลักฐาน ที่ได้มาใช้สนับสนุน ค�ำตอบหรือข้อสรุป ของตนเอง จากนั้นครูควรกระตุ้นให้ผู้เรียน ลองให้เหตุผลประกอบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจ ถามต่อไปว่า “เพราะเหตุใดผู้เรียนจึงสรุปหรือตอบเช่นนั้น” หรือ “ผู้เรียนจะอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ว่าอย่างไร” อย่างไรก็ตาม การให้ เหตุผล ของผู้เรียนยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความรู้ตามวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนด้วย โดยผู้เรียน ในระดับประถมศึกษา อาจบอกได้เพียงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อสรุปกับหลักฐาน หรืออาจสามารถบอกเหตุผลทาง วิทยาศาสตร์ได้ในระดับพื้นฐานได้ เช่น การน�ำวัตถุแต่ละชนิด มากั้นแสงแล้ว ท�ำให้ลักษณะการมองเห็นเปลวเทียนไข แตกต่างกัน เพราะวัตถุแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น กระดาษแก้วมีลักษณะใส แสงผ่านได้ดี ท�ำให้มองเห็นเปลว เทียนไขได้ชัดเจน แต่กระจกฝ้ามีลักษณะขุ่น ท�ำให้มองเห็น เปลวเทียนไขได้แต่ไม่ชัดเจน ส�ำหรับผู้เรียนในระดับชั้นที่ สูงขึ้น อาจให้เหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใดหลักฐานจึงสามารถ สนับสนุนข้อสรุปได้ โดยน�ำหลักการทางวิทยาศาสตร์มา ประกอบ และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่น�ำมาประกอบ ค�ำอธิบายจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น เมื่อน�ำวัตถุ แต่ละชนิดมากั้นแสง ท�ำให้การมองเห็นเปลวเทียนไขผ่าน วัตถุแต่ละชนิดแตกต่างกัน เพราะแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุ แต่ละชนิดได้แตกต่างกัน เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง โปร่งใส เช่น กระดาษแก้วสีต่างๆ และแผ่นพลาสติกใส แสงจะผ่านตัวกลางเข้าสู่ตาได้โดยไม่เบนไปจากแนวการ เคลื่อนที่เดิม ท�ำให้มองเห็นเปลวเทียนไขผ่านตัวกลางโปร่งใส ได้ชัดเจน ส่วนตัวกลางโปร่งแสง เช่น กระดาษไข กระจกฝ้า และ แผ่นพลาสติกขุ่น แสงจะกระทบตัวกลางแล้วผ่านเข้าตัวกลาง โดยเกิดการเบนไปจากแนวเดิมอย่างไม่เป็นระเบียบเข้าสู่ตา ท�ำให้มองเห็นเปลวเทียนไขผ่านตัวกลางโปร่งแสงได้แต่ไม่ ชัดเจน และแสงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านวัตถุทึบแสง เช่น แผ่นไม้และกระดาษแข็ง จึงท�ำให้ไม่สามารถมองเห็นเปลว เทียนไขได้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือท�ำกิจกรรมด้วยตนเองนั้น มีความส�ำคัญ แต่การเรียนรู้นั้นจะมีความหมายยิ่งขึ้น ถ้าครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนความคิด และสร้าง ค�ำอธิบายของตนเองต่อปรากฏการณ์ที่ตนก�ำลังศึกษา และ สื่อสารความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยใช้ หลักฐานที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนค�ำตอบ ทั้งนี้ ค�ำตอบ หลักฐาน เหตุผล หรือค�ำอธิบายของผู้เรียนแต่ละคนอาจ แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ส�ำคัญในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อภิปรายเพื่อสื่อสารค�ำอธิบาย ของตนเองภายใต้บรรยากาศที่สร้างสรรค์ ไร้ความกดดัน โดยผู้ เรียนทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น และ สามารถโต้แย้งทางความคิด (Argumentation) ได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นการฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ฝึกคิด วิเคราะห์เปรียบเทียบค�ำตอบของตนเองกับผู้อื่น โดยพิจารณา จากความน่าเชื่อถือของค�ำตอบ หลักฐาน และเหตุผล เป็นส�ำคัญ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะรับฟังความเห็นของผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับผู้เรียนในสังคมปัจจุบัน และ ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรฝึกฝนให้เกิดขึ้นเสมอในห้องเรียน วิทยาศาสตร์ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและ สามารถน�ำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจ�ำวัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1