นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
18 นิตยสาร สสวท โครงการเป็นฐาน : แนวทางจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนคณิตศาสตร์ ผศ.ดร.วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ. สุภาพร สุขเจริญ • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณาธิป นรสิงห์ • นิสิตสาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • e-mail: khananors@gmail.com รอบรู้ คณิต มีนักเรียนจ�ำนวนไม่ น้ อยที่ เกิดข้อสงสัยและตั้งค�ำถามว่า “เรียน คณิตศาสตร์ไปท�ำไม” หรือมีความคิดว่า “นอกจากเรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารแล้ว ความรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอื่นแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ในชีวิต จริง” โดยแนวโน้มของค�ำตอบที่นักเรียน จะได้รับจากครูคือ “นักเรียนจะได้ใช้ ความรู้คณิตศาสตร์เหล่านั้นในอนาคต” หรือ “เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานส�ำหรับ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น” ค�ำตอบ ในลักษณะนี้ ท�ำให้ผู้เรียนไม่เห็นประโยชน์ และคุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายใน การเรียนคณิตศาสตร์ในที่สุด ทั้งนี้ข้อสงสัยและความคิดดังกล่าว ขัดแย้งกับธรรมชาติและ ความเป็นจริงของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีบทบาทอย่างมาก ในการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ให้มนุษย์คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีระบบ มีแบบแผน และมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังช่วยในการคาดการณ์ การวางแผน การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ อัมพร ม้าคนอง (2559) กล่าวถึงการเชื่อมโยงความรู้ทาง คณิตศาสตร์ว่า เป็นความสามารถของผู้เรียนในการสัมพันธ์ความรู้หรือ ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เรียนมา กับความรู้ ปัญหา หรือสถานการณ์ที่ ตนเองพบ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ท�ำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ จะเห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดย น�ำทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์มาใช้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน น�ำความรู้ และทักษะที่เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาในห้องเรียน และ น�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง การส่ งเสริมให้นักเรียนมองเห็นประโยชน์ของการเรียน คณิตศาสตร์คือ การจัดสภาพแวดล้อมให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ ผ่านบริบทของชีวิตจริง และได้น�ำความรู้คณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ใน การแก้ปัญหาในชีวิตจริง การจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่สนับสนุนสิ่งที่กล่าวมา คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานโครงงาน (Project-Based Learning) ซึ่ง Lee (2018) อธิบายโดยสรุปได้ว่า เป็นวิธีจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะแบบหนึ่ง ที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งไปที่การประยุกต์ใช้ มโนทัศน์ เครื่องมือ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีในการสืบค้น เพื่อตอบ ค�ำถามและแก้ปัญหาโลกแห่งความเป็นจริง รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ โครงการเป็นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการให้ดีที่สุดนั้น โดยส่วนมากจะอยู่ในบริบทของการท�ำโครงการ และจากผลงานวิจัยของ Boaler (1997 อ้างถึงใน Kingston, 2018) ที่ค้นพบว่า นักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน สามารถน�ำคณิตศาสตร์ไปใช้ ในสถานการณ์ที่หลากหลายได้มากกว่า นั่นหมายความว่านักเรียนที่ได้ รับการจัดการเรียนรู้แบบนี้มองเห็นประโยชน์ของคณิตศาสตร์จึงสามารถ น�ำไปประยุกต์ใช้ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1