นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

19 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 BIE (n.d.) และ Lee (2018) ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานว่า การท�ำโครงการ ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากการเรียนเนื้อหานั้นๆ แต่เริ่มต้นตั้งแต่การน�ำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน โครงการจึงเป็นเหมือนพาหนะ ที่คอยขับเคลื่อนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นที่จะน�ำไปใช้ ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการ เป็นฐานมีส่วนที่ต้องให้ความส�ำคัญคือ การใช้สถานการณ์น�ำเข้าสู่บทเรียน การใช้ค�ำถามขับเคลื่อน การสร้างองค์ความรู้ และการท�ำโครงการ จากประสบการณ์การใช้โครงการเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ของผู้เขียนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นรอบรูป และพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของค�ำว่าเส้นรอบรูปและพื้นที่รวมทั้งสามารถค�ำนวณหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากได้ ผู้เขียนได้จ�ำลองสถานการณ์สมมติให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นสถาปนิก ที่รับผิดชอบในการออกแบบบ้านให้แก่ลูกค้า โดยด�ำเนินการดังนี้ การใช้สถานการณ์น�ำเข้าสู่บทเรียน (Entry Event) เป็นขั้นเริ่มต้นของการท�ำโครงการ โดยน�ำเสนอปัญหาตามบริบทในชีวิตจริง เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การเรียน โดยอาจใช้สื่อเพื่อน�ำเข้าสู่บทเรียน เช่น วีดิทัศน์ รูปภาพ หรือกิจกรรมที่น�ำเสนอบริบทของปัญหาในชีวิตจริงได้ ในขั้นนี้ผู้เขียนพูดคุยกับนักเรียนในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการออกแบบบ้าน เสนอประเด็นย่อยต่างๆ ดังนี้ • ครูแสดงรูปภาพของที่ดิน ดังภาพ 1 จากนั้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความส�ำคัญของการสร้างรั้วบ้าน และปัญหาเมื่อไม่มีรั้วบ้าน ภาพ 1 ภาพที่ดินที่มีการล้อมรั้วเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับรั้ว ภาพ 2 ภาพพื้นห้องรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากสองห้องที่ใช้ เปรียบเทียบพื้นที่ • แสดงรูปภาพห้องรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 ห้อง ดังภาพ 2 แล้วให้ นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันว่า แต่ละห้องน่าจะใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งนักเรียนมักจะดูจากขนาดของห้อง แต่ทั้งสองห้องนั้น หากดูด้วยตาเปล่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน • ใช้ค�ำถามเพื่อให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็น ที่ว่า ห้องใดที่จ�ำเป็นต้องมีทุกบ้าน • พูดคุยและแลกเปลี่ยนกับนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ ของอาชีพสถาปนิก

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1