นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

20 นิตยสาร สสวท การใช้ค�ำถามขับเคลื่อน (Driving Question) ค�ำถามขับเคลื่อนคือ ปัญหาปลายเปิดที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยรวบรวมค�ำถาม ปัญหา และข้อวิพากษ์ต่างๆ ที่ส�ำคัญในชีวิตจริงมาใช้ในการค้นหาค�ำตอบ หลังจากนักเรียนได้เข้าสู่สถานการณ์ที่ครูจัดไว้แล้ว ครูมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้ นักเรียนเกิดข้อค�ำถามหรือข้อสงสัยจากปัญหานั้น ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนให้นักเรียนค้นหาวิธีการหาค�ำตอบ หรือครูจะก�ำหนด ค�ำถามขับเคลื่อนให้นักเรียน ซึ่งผู้เขียนได้ใช้ค�ำถามปลายเปิด ดังนี้ “พวกเราในฐานะที่เป็นสถาปนิก จะออกแบบบ้านตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร” การสร้างองค์ความรู้ (Need-to-Knows) หลังจากการน�ำเสนอค�ำถามขับเคลื่อนแล้ว ครูมีหน้าที่ใช้ค�ำถามไต่ระดับความคิด เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความรู้ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา เช่น นักเรียนจ�ำเป็นต้องรู้จักแบบแปลนพื้นก่อนที่จะให้ออกแบบเอง และต้องมีความรู้เกี่ยวกับการค�ำนวณ ทางคณิตศาสตร์เรื่องรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การหาความยาวรอบรูป และการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในส่วนของการสร้าง องค์ความรู้นี้ นักเรียนสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้มากเท่าที่ต้องการ ซึ่งจะแสดงถึงรายละเอียดที่นักเรียนให้ความสนใจ ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะน�ำประเด็นส�ำคัญมาถามย�้ำกับนักเรียน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่ต้องเรียน และ มุ่งให้ความส�ำคัญในประเด็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกัน ในการสร้างองค์ความรู้นั้น ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ผู้เขียน ใช้ประเด็นย่อยๆ ในสถานการณ์น�ำเข้าสู่บทเรียน มาขยายเป็นปัญหาให้นักเรียนสืบเสาะร่วมกันในชั้นเรียน เช่น ประเด็น การสร้างรั้วบ้าน อาจสร้างเป็นปัญหาย่อยดังนี้ “นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่า ต้องใช้รั้วยาวกี่เมตรเพื่อล้อมที่ดินที่ครูก�ำหนดให้” หลังจากน�ำเสนอค�ำถามขับเคลื่อนข้างต้นแล้ว ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนสร้างค�ำถามหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น ความต้องการของลูกค้ามีอะไรบ้าง ห้องอะไรที่จ�ำเป็นต้องมี ที่ดินมีพื้นที่เท่าใด ใช้งบประมาณในการสร้างบ้านเท่าใด ผู้เขียนใช้การตั้งค�ำถามและพูดคุยกับนักเรียนถึงวิธีการ และสิ่งที่นักเรียนต้องรู้เพื่อใช้แก้ปัญหาดังกล่าว เช่น นักเรียนคิดว่า ปัจจัยส�ำคัญก่อนการออกแบบบ้านหรือสร้างบ้านมีอะไรบ้าง การสร้างบ้านได้หลังเล็กหรือหลังใหญ่ขึ้นกับปัจจัยใดบ้าง จากนั้น รวบรวมข้อมูลหรือค�ำถามย่อยต่างๆ ที่ได้มาใช้ในขั้นสร้างองค์ความรู้เพื่อตอบค�ำถามต่อไป นักเรียนอาจตอบว่า ใช้วิธีการวัดความยาวของด้านต่างๆ แล้วน�ำความยาวทั้งหมดมารวมกัน จากนั้นครูอธิบาย สิ่งที่นักเรียนค้นพบว่าเป็นการหาความยาวรอบรูป เมื่อท�ำกิจกรรมเสร็จแล้วครูควรให้นักเรียนสังเกตการได้มาของความยาว รอบรูป เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปเป็นสูตรการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทั้งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสได้ในขั้นตอนสุดท้าย ในประเด็นเรื่องห้องสองห้องที่มีขนาดใกล้เคียงกัน อาจสร้างเป็นปัญหาย่อยได้โดยใช้ค�ำถาม ดังนี้ “นักเรียนมีวิธี การอย่างไร ที่จะสามารถบอกได้ว่าทั้งสองห้องนี้มีขนาดแตกต่างกัน” ครูอาจใช้กระดาษแผ่นใหญ่แทนห้องทั้งสองที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ที่ดูด้วยตาเปล่าจะแยกไม่ออกถึงความแตกต่าง มาใช้ในการสืบเสาะหาวิธีการเปรียบเทียบ นักเรียนแสดงวิธีการที่หลากหลายในการหาค�ำตอบ โดยครูอาจแนะน�ำเพิ่มเติม

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1