นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
28 นิตยสาร สสวท ในหนังสือเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 และ 2 ของ สสวท. เมื่อเปิดเข้าไปจะพบกับสัญลักษณ์ เช่นเดียวกัน โดยมี AR รวมทั้งสิ้น 22 จุด เช่น เรื่องแบบจ�ำลอง ของเซลล์พืช แบบจ�ำลองของเซลล์สัตว์ แบบจ�ำลองอนุภาค ของสสารในสถานะต่างๆ ซึ่งนักเรียนไม่สามารถเห็นของจริง รวมทั้งยังช่วยแก้ไขความเข้าใจคลาดเคลื่อน (Misconception) ต่างๆ ได้ ภาพ 4 ตัวอย่าง AR เรื่องอนุภาคของของสสารในสถานะต่างๆประกอบหนังสือ เรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 2 ภาพ 5 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับประถม ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประภามนตรี กรุงเทพฯ ภาพ 6 การใช้สื่อเสริมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ของผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพฯ ตัวอย่างการใช้สื่อ AR เพื่อแก้ไขความเข้าใจ คลาดเคลื่อนในเรื่องอนุภาคของของแข็ง ดังภาพ 4 ซึ่งหลายคน เข้าใจว่าอนุภาคของของแข็งอยู่นิ่ง แต่ในความเป็นจริงอนุภาค ของของแข็งสั่นอยู่กับที่ ซึ่งหากไม่ใช้ AR เข้ามาช่วยประกอบ การอธิบาย ผู้เรียนคงต้องใช้จินตนาการของตนเอง ซึ่งยากที่ ครูจะตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว อย่างไร ปัจจุบันการใช้สื่อเสริมที่เป็น AR แอนิเมชัน และ วีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่ถนัดการอ่าน มีโอกาสเรียนรู้ในรูปแบบที่ตนเองมีความถนัดมากขึ้น ทั้งใน รูปแบบของการดูภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ และการฟังเสียง ประกอบ นอกจากสื่อเสริมการเรียนรู้ที่เป็น AR แล้ว ใน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ยังมีการใช้รหัส QR ที่จะน�ำไปสู่วีดิทัศน์เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ กิจกรรมเสริมในหนังสือเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดออนไลน์ บน Learning Space ที่เมื่อผู้เรียนตอบค�ำถามเสร็จและ ส่งเข้าระบบ จะทราบผลการตอบได้ทันที รวมถึงมีค�ำอธิบาย และเหตุผลประกอบในแบบทดสอบแต่ละข้ออีกด้วย ซึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความเข้าใจในแนวคิดต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ครูและผู้ปกครองหลายท่านอาจกังวลว่า การที่ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างก้าวกระโดดในยุคปัจจุบัน อาจส่งผลเสียกับเด็ก แต่ในอีกด้านหนึ่ง หากเราใช้เทคโนโลยี อย่างถูกที่ ถูกเวลา ก็จะสร้างประโยชน์ให้กับเด็กๆ เป็น อย่างมาก ส�ำหรับเด็กที่ไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต ครูสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศในชั้นเรียนเชื่อมต่อกับ โปรเจ็คเตอร์ เพื่อใช้แสดงสื่อเสริมและพูดคุยร่วมกันใน ชั้นเรียน ดังภาพ 5 ในกรณีที่ผู้เรียนที่มีอุปกรณ์ของตนเอง สามารถใช้สื่อเสริมการเรียนรู้ต่างๆ ได้ทั้งในและนอกเวลา เรียน สามารถศึกษาหรือทบทวนหัวข้อต่างๆ ผ่านสื่อเสริม ได้ด้วยตนเอง ดังภาพ 6
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1