นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
3 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 สินีนาฏ จันทะภา • ผู้ช�ำนาญ ฝ่ายยุทธศาสตร์ แผน และประกันคุณภาพ สสวท. • e-mail: schan@ipst.ac.th Coding For All โค้ดดิ้งส�ำหรับทุกคน “โค้ดดิ้ง” เป็น ภาษาของอนาคตที่เรียน ได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการคิด และสร้าง Growth Mindset ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ ยังเล็ก กล่าวคือ ท�ำให้เด็กไม่รู้จักย่อท้อ สามารถ เผชิญปัญหาและแก้ปัญหาเองได้ การเรียนโค้ดดิ้ง จะท�ำให้จับประเด็นและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น จะช่วย ให้เรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น การเรียนเรื่องนี้เป็นการสร้างพื้นฐาน ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่าง เป็นขั้นตอน สามารถจับประเด็นที่เป็นสาระส�ำคัญ ของปัญหา และวางแผนการแก้ปัญหาได้ ซึ่งจ�ำเป็น ต่อการด�ำเนินชีวิตในทุกอาชีพ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรนี้ จะท�ำให้มีบุคลากรของประเทศในทุกวิชาชีพ ที่เข้าใจกระบวนการจัดการข้อมูล เพื่อการแข่งขัน ในทุกมิติ ดังนั้น ค�ำว่าโค้ดดิ้งที่กล่าวถึงกันทั่วไปนี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการเขียนรหัสค�ำสั่งใน คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงทักษะที่ เกี่ยวข้องตั้งแต่การคิดอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหา การวางแผนอย่างเป็นล�ำดับขั้นตอน โดย "โค้ดดิ้ง" เป็นค�ำกลางเพื่อง่ายต่อการอ้างถึง คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า นโยบายการศึกษาเพื่อพัฒนาคน สู่ศตวรรษที่ 21 และนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการส่งเสริมการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือ โค้ดดิ้ง (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในวิชาเทคโนโลยีวิทยาการค�ำนวณ หรือ Computing Science อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้แล้วในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กล่าวคือ C = Creative Thinking ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ O = Organized Thinking คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ D = Digital Literacy เข้าใจภาษาดิจิทัล I = Innovation ก่อเกิดนวัตกรรม N = Newness สนับสนุนการริเริ่มใหม่ๆ G = Globalization เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1