นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
30 นิตยสาร สสวท 0 10 20 30 40 50 60 70 การจัดการเรียนรู้ส�ำหรับนักเรียนในปัจจุบัน นอกจากต้องให้ครอบคลุมทั้งเนื้อหา และกระบวนการตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ยังต้องช่วยพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรียน ซึ่งได้แก่ (1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (2) ทักษะชีวิตและการท�ำงาน และ (3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี การฝึกทักษะดังกล่าว ให้ประสบความส�ำเร็จ ท�ำได้โดยการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ในรูปแบบของการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) และการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) (วิจารณ์ พาณิช, 2553; สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2556) จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการสอนรายวิชาโครงงาน และการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานของนักเรียน พบว่าปัญหา ส�ำคัญที่สุด หรือสิ่งที่ยากในการท�ำโครงงาน คือ การไม่สามารถตั้งโจทย์ปัญหา หรือระบุปัญหาเพื่อน�ำไปสู่การท�ำโครงงานได้ ดังข้อมูลในภาพ 1 จึงอาจส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจและไม่สนุกกับการท�ำโครงงาน การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น ครูแต่ละคน จะมีเทคนิคหรือวิธีการอ�ำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้นักเรียนมองเห็นปัญหาจนสามารถน�ำไปสู่โครงงานได้แตกต่างกัน เช่น การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เรียกว่า Mini-Project หรือการพานักเรียนไปพบกับปัญหาต่างๆ ในชุมชนด้วยการ จัดค่ายวิทยาศาสตร์ (บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, 2547, 2550; สมฤทัย หอมชื่น และบัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, 2551; บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ และสมฤทัย แก้วบุญ, 2559) ดร.บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ • นักวิจัย AR-5 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • e-mail: Bualuang.F@chula.ac.th คณะครู • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต การเรียนกระตุ้น ความคิด กิจกรรมสร้างนักวิทย์… คิดนวัตกรรม ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยโจทย์ปัญหาที่พบในโรงเรียน ภาพ 1 ความคิดเห็นของนักเรียนต่อความยากของกระบวนการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ในแต่ละขั้นตอน ส�ำหรับบทความนี้ ผู้เขียนขอน�ำเสนอตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงงาน เป็นฐานด้วยโจทย์ปัญหาที่พบในโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่นักเรียนไม่สามารถระบุปัญหาหรือ ตั้งโจทย์เพื่อการท�ำโครงงานได้ การจัดการเรียนรู้มีหลักการว่า “การเริ่มต้นคิดหัวข้อโครงงาน ให้เริ่มจากปัญหาที่นักเรียนแต่ละ คนพบในชีวิตประจ�ำวัน ก�ำหนดสถานที่ที่พบปัญหาคือ โรงเรียน” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 กับกิจกรรมดีๆ ที่มีชื่อว่า “สร้างนักวิทย์…คิดนวัตกรรม” โดยมีนักเรียนระดับชั้น ม.4 แผนการ เรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 185 คน ตั้งโจทย์ปัญหา ก่อนท�ำกิจกรรม หลังท�ำกิจกรรม เปอร์เซ็นต์ (%) ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง ท�ำการทดลอง อภิปรายและ สรุปผลการทดลอง น�ำเสนอ ผลการทดลอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1