นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
31 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการให้นักเรียนตอบแบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่ทีมวิทยากร โดยการสแกน QR Code ซึ่งจะน�ำไปสู่ชุดค�ำถามที่ทีมวิทยากรได้จัดท�ำไว้ใน Google Docs กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในกิจกรรมและโต้ตอบกับวิทยากรซึ่งยังไม่คุ้นเคยกัน ผ่านการตอบค�ำถามจากโทรศัพท์มือถือ ของนักเรียน (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที) ตัวอย่างค�ำถามและค�ำตอบของนักเรียนก่อน-หลังท�ำกิจกรรม ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ความคิดเห็นของนักเรียนก่อน-หลังท�ำกิจกรรมสร้างนักวิทย์…คิดนวัตกรรม ค�ำถาม ความคิดเห็นของนักเรียน (%) น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม ความสนใจในการท�ำโครงงาน วิทยาศาสตร์ ก่อนท�ำกิจกรรม 12.4 18.6 45.2 19.8 4.0 100 หลังท�ำกิจกรรม 4.5 11.2 38.8 37.3 8.2 100 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ ก่อนท�ำกิจกรรม 6.8 17.5 63.8 11.3 6.8 100 หลังท�ำกิจกรรม 3.7 3.7 43.3 38.1 11.2 100 ความสนใจที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในโรงเรียน ก่อนท�ำกิจกรรม 2.8 7.9 60.5 24.3 4.5 100 หลังท�ำกิจกรรม 0 3.7 44.8 39.6 11.9 100 โครงงานวิทยาศาสตร์จะช่วยแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นในโรงเรียนได้ ก่อนท�ำกิจกรรม 3.9 12.4 45.2 34.5 4.0 100 หลังท�ำกิจกรรม 0.7 0.7 29.9 51.5 17.2 100 ความสนใจประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ก่อนท�ำกิจกรรม 9.1 6.8 43.5 33.3 7.3 100 หลังท�ำกิจกรรม 2.2 9.7 32.1 37.3 18.7 100 กิจกรรมต่อมาคือ การฝึกกระบวนการท�ำโครงงาน และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยโจทย์ปัญหาที่พบใน โรงเรียน ผู้เขียนได้แบ่งการท�ำกิจกรรมออกเป็นขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่หนึ่ง เรียกว่า “ปัญหาของฉันในโรงเรียน” โดยนักเรียนแต่ละคนได้รับแจกโพสต์-อิทโน้ต (Post-it Notes) คนละ 3 แผ่น จากนั้นให้แต่ละคนเขียนปัญหาต่างๆ ที่ตนเอง พบในโรงเรียนลงบนโพสต์-อิทโน้ต โดยเขียนปัญหาแต่ละข้อ ลงบนโพสต์-อิทโน้ตแต่ละแผ่น เขียนปัญหาได้อย่างไม่จ�ำกัด ขอบเขต เขียนได้ทุกๆ เรื่องด้วยค�ำที่สุภาพ และห้ามนักเรียน ปรึกษากับเพื่อน (ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที) การให้นักเรียน แต่ละคนเขียนปัญหาที่ตนเองพบถือเป็นหัวใจส�ำคัญของ กิจกรรม เนื่องจากปัญหาในการท�ำโครงงานของนักเรียนคือ การไม่รู้จะเริ่มต้นหัวข้อโครงงานอย่างไร ดังนั้น วิธีการที่ให้ นักเรียนเขียนปัญหาที่พบลงบนโพสต์-อิทโน้ต ถือเป็นการ เริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตาม นักเรียนบางคนอาจเขียนได้เพียง หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ท�ำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางสู่การเป็นนักวิจัย” โดยถ่ายทอด ประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ในการท�ำวิจัย ตั้งแต่การเลือกหัวข้อจนถึงการน�ำเสนอผลงาน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจ และตระหนักถึงความส�ำคัญของงานวิจัยต่อการพัฒนาประเทศ โดยงานวิจัยสามารถเริ่มต้นได้จากโครงงานวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนนั่นเอง (ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1