นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
32 นิตยสาร สสวท 1 หรือ 2 ข้อ หรือบางคนอาจเขียนไม่ได้เลย ก็แล้วแต่ปัญหา หรือประสบการณ์ของแต่ละคน ครูไม่ต้องบังคับให้นักเรียน ทุกคนต้องเขียนปัญหาให้ได้ เพราะขั้นตอนต่อไปจะช่วยให้ นักเรียนมองเห็นปัญหาต่างๆ มากขึ้น ขั้นตอนที่สอง เรียกว่า “ปัญหาของโรงเรียนฉัน” ให้นักเรียนแต่ละคนจ�ำแนกปัญหาที่ตนเองเขียนไว้บน โพสต์-อิทโน้ตว่า ปัญหาดังกล่าวจัดอยู่ในสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรืออื่นๆ จากนั้น ให้แต่ละคนน�ำโพสต์-อิทโน้ตมาติดลงบน แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดให้ตรงกับสาขาปัญหาของตนเอง (ใช้เวลา 30 นาที) ขั้นตอนนี้ถือเป็นไฮไลต์แห่งความตื่นเต้นของกิจกรรม เนื่องจากนักเรียน คณะครู และผู้บริหารที่ร่วมกิจกรรม จะได้ เห็นปัญหาต่างๆ ที่นักเรียนพบในโรงเรียนว่ามีมากน้อย เพียงใด และสาขาใดจะมีปัญหามากที่สุด โดยสังเกตจาก จ�ำนวนโพสต์-อิทโน้ตที่ติดลงบนฟิวเจอร์บอร์ดนั่นเอง ภาพ 2 แสดงโพสต์-อิทโน้ตที่จ�ำแนกตามปัญหาในแต่ละสาขาหรือกลุ่ม ภาพ 3 นักเรียนในแต่ละกลุ่มอ่านปัญหาบนโพสต์-อิทโน้ต จากนั้นให้นักเรียนจับกลุ่มสมาชิกตามอัธยาศัย กลุ่มละ 10 - 15 คน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านปัญหาบน โพสต์-อิทโน้ตที่เพื่อนๆ ได้ติดไว้บนฟิวเจอร์บอร์ด เมื่อครบ ทุกปัญหาแล้วจึงท�ำการเปลี่ยนและเวียนฟิวเจอร์บอร์ดกับ นักเรียนกลุ่มอื่นๆ และอ่านปัญหาจนครบทุกสาขา (ใช้เวลา ประมาณ 60 นาที) ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้ข้อมูลปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมากขึ้นจากปัญหาที่เพื่อนๆ เป็น คนเผชิญ ซึ่งบางปัญหาอาจซ�้ำกับปัญหาของตัวเองหรืออาจ จะเป็นสิ่งที่นักเรียนคาดไม่ถึงหรือมองข้ามไป ถือเป็นขั้นตอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขั้นตอนที่สาม เรียกว่า “ปัญหาโครงงานของฉัน” ในขั้นตอนนี้นักเรียนแต่ละคนต้องตัดสินใจเลือกปัญหาที่ตนเอง สนใจที่สุดเพียงแค่ข้อเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ตนเอง คิดไว้ตั้งแต่แรก หรือเป็นปัญหาของเพื่อนจากขั้นตอนที่สอง จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนแยกออกมาจับกลุ่มใหม่ ตามสาขา ของปัญหาที่ตนเองตัดสินใจเลือก ซึ่งได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรืออื่นๆ และภายในกลุ่มสาขาเดียวกันนั้นให้จับกลุ่มย่อย 5 - 10 คน ที่สนใจปัญหาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน (ใช้เวลาท�ำกิจกรรม ประมาณ 10 นาที)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1