นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

33 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 ภาพ 4 นักเรียนในกลุ่มย่อยเขียนข้อความลงบน กระดาษฟลิปชาร์ท เพื่อเตรียมน�ำเสนอ ภาพ 5 น�ำเสนอผลงานของกลุ่ม ขั้นตอนที่สี่ เรียกว่า “การทดลองของกลุ่มฉัน” ให้นักเรียนใน กลุ่มย่อยต่างๆ ร่วมกันตั้งสมมติฐาน ก�ำหนดตัวแปร และออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์สมมติฐานจากปัญหาที่ได้ระบุไว้ ตามขั้นตอนของกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) แล้วใช้ปากกาสีเมจิกเขียนรายละเอียดหรือ วาดภาพลงบนกระดาษฟลิปชาร์ท 1 แผ่น ตกแต่งกระดาษฟลิปชาร์ทให้สวยงาม และฝึกซ้อมการน�ำเสนอ (ใช้เวลาท�ำกิจกรรมประมาณ 60 นาที) ในระหว่างที่ นักเรียนท�ำกิจกรรม ครู อาจารย์และทีมวิทยากรจะคอยอ�ำนวยความสะดวก และให้ค�ำแนะอย่างใกล้ชิด เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือ ขั้นตอนที่ห้า เรียกว่า “ผลงานของกลุ่มฉัน” โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้ฝึกการน�ำเสนอโครงงานแบบโปสเตอร์ แนวทางในการปฏิบัติคือ แบ่งสมาชิกแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกท�ำหน้าที่น�ำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง ตั้งแต่หัวข้อ ปัญหา สมมติฐาน ตัวแปร และการออกแบบการทดลอง (เนื่องจากยังไม่ได้ทดลองจึงน�ำเสนอเพียงแค่นี้) ในขณะที่สมาชิก ชุดที่สองท�ำหน้าที่เป็นผู้ชมโปสเตอร์ของเพื่อนๆ กลุ่มอื่น โดยเดินชมและฟังการน�ำเสนอโปสเตอร์ของเพื่อนให้ครบหรือตามเวลา ที่ก�ำหนด แล้วเปลี่ยนหน้าที่กับสมาชิกชุดแรกเพื่อมาท�ำหน้าที่น�ำเสนอ และให้เพื่อนสมาชิกชุดแรกได้ไปชมโปสเตอร์ของ เพื่อนๆ (ใช้เวลาประมาณ 50 นาที) สรุปผลการท�ำกิจกรรมซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง นักเรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่ม การท�ำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร แสดงความคิดเห็น การจัดการข้อมูล การบริหารเวลาและความรับผิดชอบ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ออกแบบนวัตกรรม การน�ำเสนอ รวมทั้งฝึกความเป็นผู้น�ำ ผลการส�ำรวจความคิดเห็นของนักเรียนก่อน-หลังท�ำกิจกรรมพบว่า กิจกรรมสร้างนักวิทย์…คิดนวัตกรรม สามารถลดปัญหาการตั้งโจทย์ หรือระบุปัญหาเพื่อน�ำไปสู่การท�ำโครงงานได้ เพิ่มความสนใจในการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ ท�ำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีความสนใจที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในโรงเรียน และมีแนวคิดว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้ ดังนั้น กิจกรรมสร้างนักวิทย์…คิดนวัตกรรมด้วยโจทย์ปัญหาที่พบในโรงเรียน จึงเป็นตัวอย่างกิจกรรมที่ดี สามารถ พัฒนากระบวนการท�ำโครงงานพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จ�ำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรียนได้ บรรณานุกรม บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ. (2547). Miniproject กับการสอนเรื่องเนื้อเยื่อพืช (plant tissue) ในวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครู วิทยาศาสตร์. 12 , 39-43. บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ. (2550). การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม. วารสาร สควค. 4, 10-11. บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ และสมฤทัย แก้วบุญ. (2559). ตระหนักรู้ในประโยชน์ของขี้แดดนาเกลือผ่านการท�ำ mini-project. นิตยสาร สสวท. 44 (199), 14-18. วิจารณ์ พาณิช. (2553). ศาสตราใหม่ส�ำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะส�ำหรับศตวรรษที่ 21 . สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/ posts/415058. สมฤทัย หอมชื่น และบัวหลวง ฝ้ายเยื่อ. (2551). การสอนโดยใช้กระบวนการ 'Mini project'. วารสาร สควค. 7 , 8-9. สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จ�ำเป็นในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. 42 (185), 10-13. ค�ำขอบคุณ ผู้เขียนขอขอบพระคุณผู้อ�ำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จ.ปทุมธานี ส�ำหรับการสนับสนุนงบประมาณและสถานที่ในการจัดกิจกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1