นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
38 นิตยสาร สสวท บรรณานุกรม Bayly, T. (2012). “Two hands writing two different languages” BBC World Asia, สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562. จาก https://www.bbc.com/news/av/ world-asia-20697278/two-hands-writing-two-different-languages. Holder, M. K. (1997). “Why are more people right-handed?” Scientific American. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562. จาก https://www.scientificamerican . com/article/why-are-more-people-right. Medland, S. E., Duffy, D. L. & Wright, M. J. et al. (2009). “Genetic influences on handedness” Neuropsychologia 47(20), สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562. จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2755095. ภาพ 1 นักเรียนใช้กระดาษเจาะรูส�ำรวจความถนัดการมองด้วยตาข้างขวา และตาข้างซ้ายของตัวเอง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลที่ได้นักเรียนมักจะถนัดใช้ตา ข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว และความถนัดของตา กับความถนัด ของมือ ก็ไม่จ�ำเป็นจะต้องสอดคล้องกันเสมอไป เช่น นักเรียน บางคนอาจถนัดใช้มือข้างขวาแต่ถนัดมองด้วยตาข้างซ้าย หรือนักเรียนบางคนอาจถนัดใช้มือข้างซ้ายแต่ถนัดมองด้วย ตาข้างขวาก็ได้ หลังจากได้ข้อมูลแล้วว่านักเรียนแต่ละคนถนัด มือขวาหรือมือซ้าย ตาขวาหรือตาซ้ายเพียงอย่างเดียว หรือ ถนัดทั้งมือขวามือซ้าย และตาขวาและตาซ้ายพร้อมๆกัน ครูอาจ ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการให้นักเรียนใช้วิธีการทางสถิติง่ายๆ ในการลองหา การถนัดมือขวาหรือมือซ้ายสัมพันธ์กับการถนัด ของตาข้างขวาหรือตาข้างซ้ายมากน้อยเพียงใด และมีความ แตกต่างกันในกลุ่มนักเรียนชายและนักเรียนหญิงหรือไม่ โดยอาจแบ่งนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแล้วให้นักเรียน ยืนเป็นแถวตอน 2 แถวห่างจากกัน จากนั้นให้นักเรียนที่ถนัด หมายเหตุ ขอขอบคุณคณาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร ส�ำหรับการทดลองใช้กิจกรรมต่างๆ ในบทความนี้ มือขวายกแขนขวา แล้วก้าวไปทางขวาของแถวสองก้าว ให้นักเรียนที่ถนัดมือซ้ายยกแขนซ้ายแล้วก้าวไปทางซ้ายของแถว สองก้าว เมื่อแยกนักเรียนที่ถนัดมือขวาและมือซ้ายตามเพศได้แล้ว ก็ให้นักเรียนที่ถนัดใช้ตาข้างขวา ก้าวไปทางขวาของแถว อีกหนึ่งก้าว และให้นักเรียนที่ถนัดใช้ตาข้างซ้าย ก้าวไปทางซ้ายของแถวอีกหนึ่งก้าว ครูก็จะสามารถแบ่งกลุ่มนักเรียนที่มี ความถนัดในแต่ละกรณีได้ เพื่อน�ำไปสู่ข้อสรุปว่าการถนัดมือขวา มือซ้าย ตาข้างขวา ตาข้างซ้าย และเพศ มีความสัมพันธ์กัน หรือไม่อย่างไร กิจกรรมทั้งหมดที่น�ำเสนอในบทความนี้ เป็นกิจกรรมที่ใช้สมบัติทางชีววิทยาซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียน มาฝึกทักษะ การใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วนและสถิติ ที่จะท�ำให้นักเรียนทั้งชั้นสามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ การจ�ำแนกนักเรียนเป็นกลุ่มต่างๆ ด้วยการให้นักเรียนต่อแถวเพื่อนับจ�ำนวน ยังช่วยให้นักเรียนเปรียบเทียบ จ�ำนวนข้อมูลจากความยาวของแต่ละแถวในกรณีต่างๆ ได้อย่างเห็นภาพ ท�ำให้นักเรียนสามารถมองเห็นกระบวนการทาง สถิติและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมในลักษณะนี้ น่าจะช่วยให้นักเรียนจดจ�ำ หลักการต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าการคิดค�ำนวณบนกระดาษแต่เพียงอย่างเดียว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1