นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
39 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 ภาพ 1 ตัวอย่างผลงานการท�ำตุ๊กตาทรงตัว ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีวิถีชีวิตและอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชากรโลกจ�ำเป็น ต้องมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น คนท�ำงานต้องมีทักษะแบบผสมผสานที่จ�ำเป็นต่อ การท�ำงานที่มีความซับซ้อน และอาศัยการคิดวิเคราะห์และคิดอย่างสร้างสรรค์ ต้องมีความสามารถในการสื่อสารได้ หลากหลายรูปแบบ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมในการพัฒนากระบวนการท�ำงาน รวมทั้งต้องมีความสามารถ ท�ำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม (Trilling และ Charles, 2009) ด้วยเหตุนี้ แนวการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่เหมาะสม จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่อยู่ในกระแส และสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างที่ต้องการ คือ การจัดประสบการณ์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อน�ำ ความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่น�ำไปสู่การสร้างผลงานหรือนวัตกรรมใหม่ที่เป็น ประโยชน์ มีความส�ำคัญและมีความหมายต่อผู้เรียน ส่งผลให้เกิดทักษะการคิด และพัฒนาความสามารถในการแสวงหา แนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบอย่างสร้างสรรค์ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2557) การเรียนกระตุ้น ความคิด ทัศนัย สูงใหญ่ • อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ รศ.ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน • อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วชิร ศรีคุ้ม • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. e-mail: wsrik@ipst.ac.th การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา “ตุ๊กตาทรงตัว” เพื่อส่งเสริมทักษะที่จ�ำเป็นของ นักเรียนปฐมวัย เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผ่านแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้เรียน ในทุกช่วงชั้นและช่วงวัย คณะผู้เขียนขอน�ำเสนอตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “ตุ๊กตาทรงตัว” ซึ่งเป็นกิจกรรมของ นักเรียนในระดับปฐมวัย ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผนวกกับแนวทางการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรมศาสตร์ตามแบบ สสวท. ที่มี 6 ขั้นตอน ดังภาพ 2 โดยมีแนวทางในการด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ ภาพ 2 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางของ สสวท.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1