นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

4 นิตยสาร สสวท ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจ�ำนงค์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า สสวท. ได้จัดท�ำหนังสือเรียนวิทยาการค�ำนวณ ตั้งแต่ ชั้น ป.1- ม. 6 แล้ว ในการเรียนรู้แต่ละระดับได้วางแผนและ ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้าน วิทยาการค�ำนวณอย่างระมัดระวัง ไม่เป็นการยัดเยียดให้เด็ก มากเกินไป และไม่เกินสมรรถนะของครู ไม่ได้เน้นให้เด็กเป็น โปรแกรมเมอร์ทั้งหมด แต่ให้มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจที่น�ำ ไปใช้ในสาขาอาชีพของตนเองในอนาคต และเป็นการเตรียม พร้อมคนไทยให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้วิทยาการค�ำนวณ (Computing Science) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน - Computer Science / Coding คิด แก้ปัญหาเป็น ขั้นตอน เป็นระบบ - ICT : Information Communication Technology ข้อมูลและการสื่อสาร - Digital Literacy รู้เท่าทันดิจิทัล รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง มากและรวดเร็ว วิธีการเรียนรู้ของเด็กๆ เปลี่ยนไป เด็กรุ่นใหม่เติบโตบนสิ่งแวดล้อมนิเวศดิจิทัล สังคมเปลี่ยนแปลงไป ระบบ ยังปรับตัวไม่ทัน เราเรียนไปเพื่อสอบ เชื่อมโยงสู่การน�ำไปใช้ได้น้อย วันนี้เทคโนโลยีท�ำให้เราได้เรียนรู้เร็วและเข้าใจได้ดีขึ้น เรามองว่าระบบการคิดของนักเรียนเป็นเรื่องส�ำคัญจ�ำต้องพัฒนาการคิดเป็นระบบ เป็นเหตุและผล ระบบการศึกษาจึงต้องเปลี่ยน ซึ่งหลักสูตรเก่าใช้ค�ำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นนักเรียนให้เป็นผู้ใช้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนเป็นผู้พัฒนาหรือผู้คิด จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ สสวท. มองเห็นมาตั้งแต่อดีตว่า ท�ำอย่างไรจึงจะสร้างนักเรียนตั้งแต่ปฐมวัยให้มีวิธีการคิด (Computational Thinking) สามารถ ที่จะคิด แก้ปัญหาได้ หลักสูตรการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องเปลี่ยนมาเป็นการพัฒนาความคิดของเด็กแทน ท�ำให้ง่าย จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นวิทยาการค�ำนวณ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1