นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

40 นิตยสาร สสวท ขั้นระบุปัญหา ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดเพื่อสรรหาวิธีการที่เป็นไปได้ ขั้นเลือกและออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 1 2 3 เป็นขั้นเริ่มต้นของการจัดกิจกรรม ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการท�ำกิจกรรม โดยให้นักเรียน สังเกตของเล่นที่มีอยู่ในชีวิตประจ�ำวันที่มีลักษณะเป็นลูกเหล็กหรือวัตถุที่มีน�้ำหนักถ่วง 2 ข้าง แล้วท�ำให้เกิดความสมดุล ครูสาธิตการเล่นตุ๊กตาทรงตัวที่เตรียมมา โดยน�ำมาตั้งและให้ทรงตัวอยู่บนนิ้วของครู เพื่อให้นักเรียนเกิดความ สงสัยและตั้งค�ำถามขึ้นว่า “ท�ำไมของสิ่งนั้นจึงสามารถตั้งและรักษาสมดุลอยู่บนนิ้วครูได้โดยไม่ตกลงมา” จากนั้น ให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดเห็นจากประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับตุ๊กตาทรงตัว แล้วก�ำหนดสถานการณ์ ให้นักเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาทรงตัวไว้เล่นด้วยตัวเอง โดยที่ตุ๊กตาต้องสามารถตั้งและรักษาสมดุลอยู่บนนิ้วมือได้ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ ได้แก่ ไม้เสียบลูกชิ้น ดินน�้ำมัน กระดาษ 100 ปอนด์ ฟิวเจอร์บอร์ด สีไม้ สีเมจิก ซึ่งครู สามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับชิ้นงานเพิ่มเติมได้ ให้นักเรียนช่วยกันสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ตุ๊กตาทรงตัว ที่ตั้งและรักษาสมดุลอยู่ บนนิ้วมือได้ โดยสืบค้นข้อมูลตามแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือ ครูอาจเตรียมข้อมูลบางส่วนไว้ล่วงหน้าให้นักเรียนร่วมกันศึกษาในรูปแบบของเรื่องเล่า หรือแผนภาพอย่างง่าย โดยค�ำนึงถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความสมดุล น�้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง เพื่อให้ นักเรียนได้ฝึกเชื่อมโยงหลักการต่างๆ มาช่วยในการคิดแก้ปัญหา และสร้างสรรค์แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ใน การสร้างชิ้นงาน ให้นักเรียนด�ำเนินการออกแบบ โดยคิดอยู่บนพื้นฐานของวัสดุอุปกรณ์ที่ ก�ำหนดให้ ครูควรเน้นให้นักเรียนเห็นว่า แนวทางในการสร้างสรรค์ชิ้นงานมีได้ หลายวิธีและหลายแบบ จากนั้นให้นักเรียน ช่วยกันระดมความคิดและตัดสินใจเลือก วิธีการของตนเองหรือของกลุ่ม แล้ววางแผน การท�ำงาน ซึ่งอาจใช้แผนผังความคิดแสดง แนวคิดอย่างง่าย รวมทั้งกระตุ้นให้มีการ บันทึกขั้นตอนการท�ำงาน วาดภาพหรือ บันทึกลงในสมุด จากนั้นครูและนักเรียน ร่วมกันอภิปราย เพื่อเลือกแบบและวิธีการ การสร้างตุ๊กตาทรงตัว โดยให้นักเรียน แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มสามารถใช้แบบ ตามที่นักเรียนร่างไว้ ดังภาพ 3 ภาพ 3 ภาพร่างแบบตุ๊กตาทรงตัวของนักเรียน (ซ้าย) และภาพร่างของนักธุรกิจ (ขวา)

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1