นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

41 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 ขั้นด�ำเนินการแก้ปัญหาเพื่อสร้างต้นแบบ ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข้ต้นแบบ ขั้นน�ำเสนอต้นแบบ วิธีการ และผลการแก้ปัญหา 4 5 6 หลังจากที่นักเรียนเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ได้แล้ว ขั้นนี้ครูกระตุ้นให้นักเรียนด�ำเนินการสร้างชิ้นงาน ตามแบบที่คิดไว้ โดยครูมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยอ�ำนวยความ สะดวก (Facilitator) เช่น จัดหาวัดสุและอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือช่วยเหลือในขั้นตอนการใช้เครื่องมือบางประเภทที่อาจ จะเกิดอันตราย เช่น กรรไกร มีด ครูควรกระตุ้นให้นักเรียน ด�ำเนินตามขั้นตอนที่วางแผนไว้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ นักเรียนท�ำงานเป็นกลุ่ม ควรให้นักเรียนแบ่งหน้าที่และ ก�ำหนดบทบาทตัวเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม เพื่อเปิดโอกาส ในการสร้างและพัฒนาทักษะการท�ำงานร่วมกัน และฝึกฝน ให้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขั้นนี้ครูให้นักเรียนน�ำตุ๊กตาทรงตัวมาทดสอบโดยการน�ำตุ๊กตามาวางบนนิ้วมือ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ และความส�ำเร็จของชิ้นงาน ในกรณีที่ตุ๊กตาของนักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดไม่สามารถทรงตัวอยู่บนนิ้วมือได้ ครูควร เปิดโอกาสและให้เวลากับนักเรียนในการปรับปรุงชิ้นงาน เช่น ปรับน�้ำหนักปลายทั้งสองข้างของตุ๊กตาให้สมดุล ปรับขนาดของตุ๊กตา ในขณะเดียวกันครูควรตั้งค�ำถามและเก็บประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่ามีผล ต่อการทรงตัวของตุ๊กตา โดยอาจใช้วิธีการจดบันทึกความเห็นลงบนกระดานด�ำหรือบนกระดาษ ซึ่งแนวคิดอาจ จะไม่ได้จ�ำเพาะไปที่หลักการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน แต่ควรมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และเรียนรู้ว่า หากเราคิดและตรึกตรองประเด็นปัญหาอย่างมีเหตุผล เราก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนักเรียนท�ำตุ๊กตาทรงตัวส�ำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนน�ำเสนอวิธีการและ แนวทางการแก้ปัญหา โดยใช้ภาษาที่สื่อสารได้เหมาะสมตามวัยและสมรรถนะของนักเรียน ครูควรช่วยกระตุ้นให้ นักเรียนได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ลงมือท�ำ โดยการตั้งค�ำถามถึงสิ่งที่นักเรียนได้ท�ำผ่านมาแล้ว เช่น “ท�ำไม นักเรียนเปลี่ยนแบบตุ๊กตา” หรือ “ท�ำไมจึงเลือกใช้กระดาษแข็งท�ำตุ๊กตา” เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวสะเต็มศึกษาระหว่างการน�ำเสนอชิ้นงาน นอกจากนี้ครูควรเน้นให้นักเรียนได้ อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราท�ำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น หรือมีความสุขมากขึ้น โดยการ ขยายแนวความคิดไปยังสถานการณ์การพัฒนาชิ้นงานอย่างง่าย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ หรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ ภาพ 4 นักเรียนลงมือท�ำตามแบบและแผนงานที่วางไว้

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1