นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

43 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 ภาพ 1 ร้อยละพื้นที่ป่าไม้ไทย ปี พ.ศ. 2504 - 2560 ที่มา https://www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/ รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6/ การเรียนกระตุ้น ความคิด ดร.นิสากรณ์ แสงประชุม • นักวิชาการ ฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม สสวท. • e-mail: nisae@ipst.ac.th ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ในทางกลับกันการเอาใจใส่ ดูแลสิ่งแวดล้อม การมีจิตสาธารณะ ไม่ได้มีการพัฒนาตามไปด้วย พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ เช่น ความมักง่าย ความเห็นแก่ตัว และการไม่รู้จักพอ ท�ำให้มนุษย์แสวงหาเพิ่มขึ้นตลอดชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงถูกท�ำลายลงอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยพื้นที่ป่าไม้ลดลงไปถึง 20 % ภายในระยะเวลาเพียง 50 ปี ดังภาพ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นไปในลักษณะที่มนุษย์ท�ำลายสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศเกิดความแปรปรวน และเกิด ภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรงในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่ย้อนกลับสู่มนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้การสร้าง ความตระหนักในสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกระบวนการที่ทุกภาคส่วนต้องด�ำเนินการอย่างเร่งด่วน และจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการหา แนวทางเพื่อร่วมมือกันป้องกัน แก้ไข และยังยั้งไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามใหญ่โตเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ แนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุดต้องเริ่มที่มนุษย์ โดยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิด มองเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และจัดให้เป็นปัญหาที่เร่งด่วนของชาติ โดยก�ำหนดให้มีแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งสิ่งแวดล้อมถูกบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 5 “ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายส�ำคัญ คือ การเติบโตร่วมกันบนความสมดุลของสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ รู้ รักษ์ สิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดส่งต่อมรดกแห่งมลพิษ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1