นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
5 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 เป้าหมายของ สสวท. ไม่ได้ต้องการเพิ่มงานให้ กับครูเลย เพียงแต่ย้ายสิ่งที่มีอยู่แล้วจากหลักสูตรเทคโนโลยี สารสนเทศ เปลี่ยนเป็นวิทยาการค�ำนวณ พัฒนาการให้เหตุผล การแก้ปัญหา การมองทุกอย่างเป็นระบบ คิดแบบอัลกอริทึม เวลาที่จะติดต่อสื่อสารกับใครสามารถเขียนเป็นขั้นตอน สื่อสาร ได้ง่ายขึ้น กระชับ ได้ความ โดยที่เวลาและตารางสอนต่างๆ ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเลย สสวท. อยากดึงความเป็น Digital Native ของเด็ก ออกมาให้มากที่สุดดังนั้นการสอนวิทยาการค�ำนวณจึงเปลี่ยน รูปแบบไปโดยสิ้นเชิง เอาความสนุก เอาวิธีคิด มาอยู่ในหนังสือ ใช้สไตล์การ์ตูน มีตัวละครเล่าเรื่อง เดินเรื่อง เชื่อมโยงกับชีวิต ในหลักการแล้วจะเห็นว่า สสวท. ให้ความส�ำคัญที่คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ต้องดีขึ้น การที่จะดีขึ้นมาได้นั้น นักเรียนจะต้องพัฒนาวิธีคิด การแก้ปัญหา การคิดริเริ่ม สามารถ บูรณาการสู่ศาสตร์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ในระดับปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาตอนต้น จะต้อง สัมผัสสิ่งที่เข้าใจง่าย ยังไม่ต้องสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ก็ได้ ที่เรียกว่าอันปลั๊ก เพราะเราน�ำเรื่องการด�ำเนินชีวิตจริงมาเป็น สิ่งที่ให้เขาได้เรียนรู้ ประถมศึกษาตอนปลาย เด็กเริ่มมีพัฒนาการ ทางความคิดมากขึ้น ก็จะเริ่มมีความหลากหลายของการใช้ เครื่องมือได้ แต่ให้อยู่ภายในก�ำกับของครู เพื่อพัฒนาความคิด เชิงล�ำดับขั้นตอนการโค้ดดิ้ง การสร้างชิ้นงานต่างๆจะหลากหลาย มากขึ้น พอเข้าสู่ระดับมัธยมศึกษา ด้วยวัยของนักเรียนมัธยม เริ่มมองเป็นนามธรรมได้มากขึ้น จึงเชื่อมโยงเรื่องของนามธรรม เข้ามาใส่ในการเรียนรู้ เพื่อให้เขาจินตนาการ เขียนออกมาเป็น ตัวหนังสือ เป็นโค้ดได้ ในแต่ละระดับเราจะไม่ท�ำสิ่งที่เกินวัยของนักเรียน แต่ในขณะเดียวกันเราจะพยายามพัฒนานักเรียนให้เป็นไปใน จุดที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคต เด็กที่เข้า ป. 1 วันนี้ สิ่งที่เรียนมา จะไปใช้ประโยชน์อีกประมาณ 20 ปี กว่าจะถึงวัยท�ำงาน ถ้า นักเรียนได้รับการพัฒนาตามแนวทางนี้จะเป็นรากฐานของ ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง สสวท. พยายามสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ (Learning Experience) เพื่อให้ติดตัวไปตลอดชีวิต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1