นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
50 นิตยสาร สสวท บรรณานุกรม ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). คู่มือสื่อการสอนวิชาฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual. สนุกสนานในชั้นเรียน เพิ่มความสนุกสนานในชั้นเรียน โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาแข่งขันเป่าลูกโฟม ดังภาพ 8 โดยมีกติกาคือ เป่าลูกโฟม ให้ลอยได้นานที่สุด โดยไม่ตกลงสู่พื้น หรือฐานรอง วิทย์สนุกรู้ นักเรียนร่วมกันอภิปรายหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า ท�ำไมลูกโฟมจึงลอยได้ เมื่อเราเป่าลมใต้ลูกโฟมจะท�ำให้ลมไหลไป ยังบริเวณด้านล่างและด้านข้างลูกโฟม ส่งผลให้ความดันรอบลูกโฟม น้อยกว่าความดันอากาศที่ห่างออกไป ตามกฎของเบอร์นูลี ซึ่งเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างความดันและความเร็วของอากาศที่ว่า บริเวณใด ที่อากาศไหลเร็ว จะท�ำให้ความดันบริเวณนั้นน้อยกว่าบริเวณที่อากาศ ไหลช้า ดังนั้น ถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมเคลื่อนที่จากที่ความดันมากเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า ท�ำให้ เกิดแรงผลักรอบๆ ลูกโฟมให้ลอยขึ้น เนื่องจากลมวิ่งจากบริเวณที่มี ความดันมากไปยังบริเวณที่มีความดันน้อยกว่า ดังภาพ 7 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เมื่อเราเป่าลมใต้ลูกโฟม แรงลมจะผลัก ให้ลูกบอลลอยขึ้น ลมที่โดนด้านล่างของลูกโฟมจะไหลไปด้านข้างๆ ขึ้นไปข้างบนในที่สุด ลมเหล่านี้เคลื่อนที่เร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างจาก ลูกโฟม ความดันข้างๆ ลูกโฟมจึงต�่ำกว่าความดันที่ห่างออกไป จึงมี แรงผลักให้ลูกโฟมลอยอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอ เราจึงสามารถ “เลี้ยง” ลูกโฟมอยู่ได้นาน ภาพ 7 เมื่อเป่าลมใต้ลูกโฟม ภาพ 8 การแข่งขันเป่าลูกโฟม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1