นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
51 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 นานาสาระ และข่าวสาร ในปี ค.ศ. 1877 นักชีววิทยาชื่อ Richard Owen ได้เสนอว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนมที่มีขนาดใหญ่เคยมี ชีวิตอยู่ในออสเตรเลียในยุค Pleistocene เมื่อ 26 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ เพราะมนุษย์ไล่ฆ่าเอาเนื้อเป็นอาหารและ เอาหนังเป็นเครื่องนุ่งห่ม อีก 7 ปีต่อมา C.S. Wilkinson ได้แย้งว่า ปริมาณฝนที่ตกน้อยเป็นเวลานานท�ำให้พืชและ สัตว์เหล่านั้นล้มตาย นั่นคือ ภาวะขาดแคลนน�้ำเป็นสาเหตุ ใหญ่ของการท�ำให้สัตว์สูญพันธุ์ ดังนั้น ความเห็นเรื่องสาเหตุการสูญพันธุ์จึงแตกต่าง เป็นสองประเด็นว่า มนุษย์หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุหลักกันแน่ หลักฐานทางชีววิทยาแสดงว่าตลอดเวลา 50,000 ปี ที่ผ่านมา โลกได้สูญเสียสัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยน�้ำนมไปเป็นจ�ำนวนหลายล้านสายพันธุ์ (Species) โดยเฉพาะสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีน�้ำหนักตัวกว่า 45 กิโลกรัม และพบอีกว่าการสูญพันธุ์ครั้งมโหฬารในบริเวณต่างๆ ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น ในออสเตรเลีย เกิดขึ้นเมื่อ 46,000 ปีก่อน ในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ เกิดขึ้นเมื่อ 13,000 ปีก่อน ใน West Indies เกิดขึ้นเมื่อ 5,000 ปีก่อน ที่มาดากัสการ์ เมื่อ 2,300 ปีก่อน และที่นิวซีแลนด์ เมื่อ 500 ปีก่อนนี้เอง โดยการสูญพันธุ์อย่างขนานใหญ่นี้เกิดขึ้น หลังจากที่มนุษย์ ( Homo sapiens ) เดินทางถึงสถานที่นั้น หาใช่เกิดจากความผิดปรกติของดินฟ้าอากาศไม่ แต่ในปี ค.ศ. 2006 Paul S. Martin ได้เรียบเรียง หนังสือชื่อ Twilight of the Mammoths: Ice Age Extinctions and the Rewilding of America ซึ่งจัดพิมพ์โดย University of California Press โดย Martin ได้เน้นย�้ำว่า การล่าสัตว์อย่าง ขนานใหญ่ของมนุษย์ คือสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ และ เกิดขึ้นโดยใช้เวลาไม่นาน คือประมาณ 2-3 พันปีเท่านั้นเอง ในขณะที่โรคระบาดหรือภัยธรรมชาติอื่นๆ เป็นสาเหตุรอง แม้วันนี้ทฤษฎีของ Martin ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เพราะยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่า มนุษย์อพยพไปอาศัยในออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่เมื่อใด แต่ในทวีปอเมริกาเหนือและ บนเกาะใหญ่น้อยในมหาสมุทรแปซิฟิกนั้น เวลาที่มนุษย์ เริ่มเข้ามาตั้งรกรากกับเวลาที่สัตว์เริ่มสูญพันธุ์ มีสหสัมพันธ์ กันอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าข้อสังเกตนี้คือความจริง ค�ำถามที่ ตามมาคือ สถานที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้นอยู่ที่ใด ส�ำหรับใน ทวีปอเมริกาเหนือ นักชีววิทยาสัตว์ดึกด�ำบรรพ์ได้พบแต่ ซากแมมมอทเท่านั้น และไม่พบหลักฐานว่ามนุษย์ฆ่าสัตว์ ขนาดใหญ่อื่นๆ เช่นตัวสลอธ แรดขน เสือฟันดาบ เมื่อหลักฐาน ในประเด็นนี้มีค่อนข้างน้อย การอ้างว่า มนุษย์คือสาเหตุหลัก ของการสูญพันธุ์จึงลดน�้ำหนักไปมาก แต่ Martin ได้แย้งว่า การที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเร็วจนไม่มี หลักฐานทางโบราณคดีชีวภาพ (Biological Archaeology) ภาพ 1 Pleistocene megafauna ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Pleistocene_megafauna การสร้างสัตว์สูญพันธุ์ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน • ราชบัณฑิต วิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ • e-mail: suthat@swu.ac.th
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1