นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
52 นิตยสาร สสวท อย่างไรก็ดี Martin ได้เสนอให้นักวิทยาศาสตร์ สร้างสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วโดยใช้สัตว์สายพันธุ์ใกล้เคียง เช่น ในทวีปอเมริกาเหนือควรมีการสร้างหมีสีน�้ำตาล อูฐ และสิงโต กรณีของสลอธที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้น ควรใช้แรดเป็นสัตว์อุ้มบุญ ในการสร้าง นักชีววิทยาประมาณว่าในทุกๆ ปีจะมีสัตว์สูญพันธ์ุ ไป 10,000 ถึง 100,000 สายพันธุ์ ซึ่งหมายถึงไม่มีใครได้เห็น มันอีกเลย แต่นักชีววิทยาก็ใคร่จะสร้างสัตว์ที่สูญพันธุ์เหล่านั้น ให้กลับคืนมาอีก โดยต้องมี DNA ที่บริสุทธิ์ของสัตว์ชนิดนั้น ตลอดเวลาหลังจากที่สัตว์ตายไป ความคาดหวังเช่นนี้ในกรณี ของไดโนเสาร์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ในกรณีของสัตว์ที่ เพิ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อไม่นานมานี้ การมี DNA ที่บริสุทธิ์เป็นเรื่อง ที่มีความเป็นไปได้สูง เช่น กบ Gastic-brooding ที่เคยพบใน ออสเตรเลียเมื่อ 30 ปีก่อน หรือนกพิราบสื่อสารที่สูญพันธุ์ไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 เสือทัสเมเนียที่เคยมีชีวิตเมื่อ 80 ปีก่อน หรือแพะป่า (Pyrenean ibex) ที่เคยพบในสเปนกับโปรตุเกส เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 2000 หรือแม้กระทั่งช้างแมมมอท ก็ตาม ในปี ค.ศ. 2003 คณะนักวิทยาศาสตร์จากสเปนและ ฝรั่งเศสประสบความส�ำเร็จในการโคลนแพะป่า (Pyrenean ibex) ภายในเวลา 3 ปี หลังจากที่สูญพันธุ์ไป แต่แพะป่าที่ถูกโคลน ตัวนั้นกลับมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ในปีค.ศ. 2013 คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้แถลงข่าว ความส�ำเร็จในการพัฒนาตัวอ่อนของกบ Gastic- brooding ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน ในส่วนของขั้นตอนการสร้างสัตว์สูญพันธุ์ขึ้นมาใหม่ นักเทคโนโลยีชีวภาพมีหลักการปฏิบัติดังนี้ 1. ค้นหาเซลล์บริสุทธิ์ของสัตว์ ซึ่งจะต้องไม่ปน เปื้อนหรือเสื่อมสลาย หรือถูกท�ำลายโดยสิ่งแวดล้อม โดย อาจหาได้จากบริเวณที่มันเสียชีวิต โดยเฉพาะในบริเวณที่ มีอุณหภูมิต�่ำมากจนซากอยู่ในสภาพแช่แข็ง แต่ถ้าหาเซลล์ ที่สะอาดไม่ได้ อาจใช้นิวเคลียสที่บริสุทธิ์ก็ได้ 2. จากนั้นต้องหาเซลล์อุ้มบุญ โดยน�ำนิวเคลียสของ สัตว์สูญพันธุ์ไปใส่ในเซลล์ของสัตว์สปีชีส์อื่นที่มีสายพันธุ์ใกล้ เคียงกัน โดยเซลล์อุ้มบุญจะต้องไม่มีนิวเคลียสอยู่ภายใน ในกรณีของการสร้างแมมมอทอาจใช้เซลล์ของช้างปัจจุบัน อุ้มบุญแทน 3. กระตุ้นให้เซลล์ “ใหม่” แบ่งตัวจนกระทั่งได้ตัวอ่อน ที่สามารถด�ำรงชีพต่อไปได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ เอื้ออ�ำนวยก็ตาม 4. น�ำตัวอ่อนที่ได้ไปถ่ายลงในไข่หรือครรภ์ของสัตว์ อุ้มบุญ เพื่อให้พัฒนาเป็นตัวอ่อนของสัตว์ที่สูญพันธุ์ต่อไป แม้นักวิทยาศาสตร์จะประสบความส�ำเร็จในการ ฟื้นชีพพันธุ์สัตว์ได้บางชนิดแล้ว แต่นั่นมิได้หมายความว่า ควรฟื้นชีพสัตว์สูญพันธ์ทุกชนิดได้ เพราะยังไม่มีใครมั่นใจ 100% ว่าสัตว์ที่ฟื้นชีพพันธุ์นั้น จะสามารถด�ำรงชีพอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่ผิดไปจากธรรมชาติเดิมของมันได้หรือไม่ อาจไปฆ่ากินสัตว์อื่นจนเหยื่อของมันสูญพันธุ์ หรือถูกสัตว์อื่น ฆ่าจนมันเองสูญพันธุ์อีก และถ้านักวิทยาศาสตร์สามารถสร้าง สัตว์ที่สูญพันธุ์ขึ้นมาอีกได้ นักอนุรักษ์ก็ต้องท�ำงานมากขึ้น เพราะนอกจากจะไม่ยินยอมให้สัตว์ใดมาฆ่ามันแล้ว เขาจะ ต้องป้องกันไม่ให้มันไปฆ่าสัตว์อื่นจนสูญพันธุ์ด้วย ในกรณีของแมมมอท ถ้านักวิทยาศาสตร์สร้างมันได้ คนทั้งโลกคงตื่นเต้นไม่น้อยกว่าไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ เพราะแมมมอทเป็นสัตว์ที่สร้างง่ายกว่าไดโนเสาร์ เนื่องจากมีช้าง ซึ่งเป็นสัตว์สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สามารถใช้จีโนมเทียบเคียงได้ แต่ในกรณีไดโนเสาร์ไม่มีสัตว์ใดที่จะใช้ในการเทียบเคียง ภาพ 2 กบ Gastic-brooding ที่มา https://www.jw.org/en/publications/magazines/g201407/ gastric-brooding-frog/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1