นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562
53 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 แมมมอทเป็นสัตว์ในยุค Pleistocene มีลักษณะ ทั่วไปเหมือนช้าง แต่มีขนยาวเต็มตัว สูงประมาณ 4.5 เมตร มีงวงใหญ่ เพราะดินฟ้าอากาศในยุคน�้ำแข็งหนาวมาก ดังนั้น ใต้ผิวหนังของมันจะมีไขมันเป็นชั้นหนาเพื่อสร้างความอบอุ่น ให้ร่างกาย หัวมันมีขนาดใหญ่กว่าหัวช้างปัจจุบัน งาโค้งยาว หูมีขนาดเล็ก และหางค่อนข้างสั้น ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้า Tundra และ Steppe ในไซบีเรีย ซากแมมมอทที่ขุดได้ใน บริเวณนั้น แสดงว่ามันกินใบพืช เช่น สน หลิว ใบต้น Birch และใบต้น Elm เป็นอาหาร ชาวไซบีเรียเมื่อ 30,000 ปีก่อน มักฆ่าแมมมอทเพื่อใช้งาท�ำอุปกรณ์และเครื่องใช้ (เพราะบริเวณ Tundra ไม่มีต้นไม้ให้ตัดท�ำอุปกรณ์เครื่องใช้ได้มากพอ) และกินเนื้อเป็นอาหาร การพบซากและอุปกรณ์หินในบริเวณ เดียวกัน แสดงให้เห็นวิธีล่าแมมมอทของชาวไซบีเรียใน เวลานั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ ได้ขุดพบกระดูกแมมมอทแล้วประมาณ 31 ตัว ส่วนในบริเวณอื่นๆ ของโลก เช่น ยุโรป (ยกเว้นสเปน และกรีซ) เอเชียตอนเหนือ อเมริกาเหนือ ล้วนเคยเป็นถิ่นอาศัย ของแมมมอท ที่เมือง Moravia ในเซอร์เบีย มีซากแมมมอทที่ พบในสภาพดี ส่วนในที่อื่น เช่น Prerov และ Mikeilov ในรัสเซีย ก็มีพบซากแมมมอทเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1907 ที่ไซบีเรีย มีการพบซากแมมมอท อายุ 10,000 ปีในสระน�้ำแข็ง และมีการแสดงซากแมมมอท ซึ่งขุดพบที่แม่น�้ำ Berezovka ที่ Academy of Science ใน St. Petersburg ค�ำถามที่ตามมาคือ ถ้านักวิทยาศาสตร์รู้จีโนมทั้งหมด ของแมมมอท การสร้างแมมมอทก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้สร้าง ต้องรู้ล�ำดับของจีโนมอย่างถูกต้อง แล้วต้องสังเคราะห์ โครโมโซมจากล�ำดับเหล่านั้น จากนั้นก็น�ำไปใส่ในนิวเคลียส เพื่อน�ำไปฝังในไข่ช้างที่จะท�ำหน้าที่ และน�ำไปถ่ายลงในครรภ์ ของช้างตัวเมียต่อไป ความยุ่งยากประการแรก คือ การหาล�ำดับจีโนม ของแมมมอทที่เสียชีวิต ทั้งนี้เพราะจีโนมจะอยู่ในสภาพที่ เสื่อมสลายแตกต่างกัน ดังนั้น ล�ำดับหลายส่วนจึงอาจเปื่อย แตกสลายหรือกลายพันธุ์ไปจนท�ำให้คู่เบสเรียงผิดล�ำดับได้ การเสื่อมหรือการเปลี่ยนแปลงของจีโนม อาจเกิดจากราหรือ แบคทีเรียที่มีในสิ่งแวดล้อมรบกวน ดังนั้นการป้องกันมิให้ จีโนมของแมมมอทถูกรบกวนจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ นั่นหมายถึง กระบวนการเก็บจีโนมของแมมมอทจะต้องเข้มงวดและ รัดกุม เพื่อให้ได้จีโนมที่ถูกต้องที่สุด การรู้ล�ำดับเพียง อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะผู้สร้างแมมมอทจะต้อง รู้ ว่ า ล�ำดับเหล่ านั้นประกอบด้ วยโครโมโซมอะไรบ้ าง นั่นคือ ผู้สร้างต้องรู้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครโมโซม ตราบจนวันนี้ นักวิจัยยังไม่รู้ชัดเกี่ยวกับโครโมโซมทั้งหมด ของแมมมอท แต่ก่อนจะรู้จ�ำนวนที่แท้จริง การรู้จ�ำนวน โครโมโซมของช้างอินเดีย ( Elephas maximus indicus ) ซึ่งเป็นช้างสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับแมมมอทก็อาจช่วยได้มาก ในกรณีแมมมอท การสร้างโครโมโซม X เป็น เรื่องยากเพียงใด การสร้างโครโมโซม Y และ Centromere ของนิวเคลียสก็ยิ่งยากมากขึ้นไปอีก การหาล�ำดับที่ถูกต้อง ของโครโมโซมและ Centromere ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเมื่อเรา ตระหนักว่าจีโนมของแบคทีเรีย Mycoplasma genitalium มีคู่เบส 582,970 คู่ จีโนมของแมมมอทอาจจะมีมากถึง 4,700 ล้ านคู่ แต่ สมมติว่ าแมมมอทกับช้ างอินเดียมี โครโมโซม 56 ตัวเท่ากัน นั่นหมายความว่าโครโมโซมแต่ละตัว จะมีคู่เบส โดยเฉลี่ย 160 ล้านคู่ ซึ่งจะต้องน�ำมาเรียงกัน ให้เป็นโมเลกุล DNA ที่เสถียร ไม่แตกแยกได้ง่าย ตลอดเวลา ที่มีการสร้างแมมมอทในห้องทดลอง ภาพ 3 แมมมอท ( Mammuthus primigenius ) ที่มา https://walkingwith.fandom.com/wiki/Woolly_Mammoth
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1