นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

54 นิตยสาร สสวท บรรณานุกรม Benton, Michael J. (2010). When Life Nearly Died: The greatest mass extinction of all time. Thames and Hudson. ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าอนาคตของการสังเคราะห์แมมมอท ในหลอดทดลองยังอยู่อีกไกล เพราะนอกจากโครโมโซมแล้ว นักทดลองต้องสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อห่อหุ้มโครโมโซม ทั้งหมด รวมถึงสร้างส่วนที่เป็นไมโทคอนเดีย ซึ่งต้องมีจีโนม ที่สอดคล้องกับนิวเคลียสด้วย เพราะถ้าไม่เข้ากันเซลล์ก็จะตาย แต่เมื่อช้างอินเดียกับแมมมอทเป็นสัตว์สายพันธุ์ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ปัญหานี้อาจจะมีไม่มาก ตามปกติช้างตัวเมียตกไข่ทุก 16 สัปดาห์ แต่ตั้งครรภ์ นานถึง 5 ปี และในการตกไข่จะมีไข่อ่อนเพียงหนึ่งใบที่จะฝัง อยู่ลึกในตัวช้างถึง 1 เมตร การน�ำนิวเคลียสไปใส่ในไข่ของ ช้างตัวเมียจึงไม่ใช่เรื่องง่าย และหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ แมมมอทตัวเมียแล้ว ต่อไปก็จะต้องสร้างแมมมอทตัวผู้เพื่อ น�ำเชื้อตัวผู้และไข่ตัวเมียมาผสมกัน ให้ได้แมมมอทตัวอ่อนที่ หนักประมาณ 120 กิโลกรัม ซึ่งหนักพอๆ กับลูกช้างอินเดีย ต่อไปในอนาคตนักวิทยาศาสตร์คงต้องสร้างแมมมอท เป็นฝูง และต้องหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้มันสามารถด�ำรง ชีวิตตามธรรมชาติได้ และต้องช่วยมันสืบพันธุ์ เพื่อความยั่งยืน ของสายพันธุ์ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนมาก และกระบวนการสร้างก็ยากมาก ซึ่งอาจท�ำให้หลายคน หมดความต้องการจะเห็นแมมมอทคืนชีพ แต่ในอีก 50 ปี แมมมอทอาจกลับมาเดินบนโลกอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เมื่อ วิทยาการด้าน Synthetic Biology ได้ก้าวหน้าไปมากกว่านี้ ภาพ 4 โครงกระดูกแมมมอท ความสูงเมื่อเทียบกับคน ที่มา https://www.researchgate.net/figure/Rigorous-multiview- skeletal-restoration-of-Mammuthus-trogontherii-from- Zhalainuoer_fig7_261264896

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1