นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

59 ปีที่ 47 ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562 QUIZ ภาพ 1 ภาพสรุปจากบทคัดย่อของ Lwanga, E. H. ที่สรุปสิ่งที่เขาหวังให้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ภาพ 2 แสดงสัดส่วนของขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นขยะ (Discarded) ที่ถูกเผา (Incinerated) ที่ถูกน�ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled) ขยะพลาสติกบนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งโดยใช้วิธีฝังกลบ เพราะมีต้นทุนในการก�ำจัดต�่ำที่สุด ที่มา https://ourworldindata.org/plastic-pollution สวัสดี ผู้อ่านที่รัก ต่ายคาดว่าช่วงนี้ภาระงานต่างๆ ของผู้สอนเกี่ยวกับการสอบกลางภาคคงจะเบาบางลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเตรียมรับมือการสอบปลายภาคต่อไป ในบริบทของสิ่งมีชีวิต หากยังมีชีวิตก็ต้องต่อสู้และฟันฝ่า อุปสรรคที่เกิดขึ้นทุกวันทุกเวลาต่อไป นี่คือความจริงที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ต่ายก�ำลังจะน�ำเข้าสู่อีกหนึ่งปัญหา ในมุมมองใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณและสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ เจ้าตัวเดิม นั่นก็คือ "พลาสติก" โดยปกติเราจะเห็นจากสื่อต่างๆ ซึ่งน�ำเสนอปัญหาของพลาสติกจากมุมมองทางทะเล และผลกระทบกับสายใยอาหารที่เกี่ยวข้อกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและมนุษย์ จากรายงานการวิจัยโดย Ng, E. L., Lwanga, E. H., Eldridge, S. M., Johnston, P., Hu, H. W., Geissen, V., & Chen, D. (2018). An overview of microplastic and nanoplastic pollution in agroecosystems. Science of the Total Environment, 627, 1377-1388. ได้น�ำเสนอถึงผลกระทบของพลาสติก ที่มนุษย์ได้น�ำมาใช้เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว และสะสมอยู่ในดินจากการทิ้งโดยเจตนา ไม่เจตนา การฝังกลบ และอื่นๆ ผ่านเข้าสู่ สายใยอาหารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตบนบก และอีกเช่นเคย ปลายทางก็คือ มนุษย์ เพื่อเข้าใจกับปัญหานี้ ต่ายอยากให้คุณ ย้อนอ่านเนื้อหาฉบับก่อนหน้านี้ก่อน จากภาพ 1 สรุปได้ว่า พลาสติกที่สะสมในดิน จะเข้าสู่สัตว์ ซึ่งในภาพใช้น้องกุ๊กไก่เป็นตัวแทน เข้าสู่ มนุษย์แต่ละคน และส่งผลมาสู่ชุมชน ซึ่งต้องเร่งให้มี ระบบการประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ ในภาพยังมีไส้เดือนหรือหนอนชนิดต่างๆ สื่อให้เข้าใจว่า ในทางเดินอาหารจะมีแบคทีเรียอยู่และสามารถย่อย พลาสติกได้ ท�ำให้พลาสติกขนาดเล็ก (Microplastic) เปลี่ยนเป็น Nanoplastic ได้ (แต่ไม่มากขนาดสามารถ น�ำมาใช้ย่อยพลาสติกได้เลย) และเมื่อไส้เดือนหรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1