นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 219 กรกฎาคม - สิงหาคม 2562

6 นิตยสาร สสวท หลักสูตรวิทยาการค�ำนวณ เน้นพัฒนา “กระบวนการคิด” ของนักเรียนโดยเน้นเกี่ยวกับตรรกะ การแปลความโจทย์การอธิบาย และการสื่อสารด้วยการบรรยายและสื่อ มีโค้ดดิ้งเป็นส่วนประกอบ หนึ่งของหลักสูตร หลักสูตรนี้ออกแบบมาโดยมีทางเลือกของเทคโนโลยี ที่หลากหลายปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์มีการค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัด ของทรัพยากรบุคคลและคอมพิวเตอร์ที่มีจ�ำกัดในสถานศึกษา บางแห่ง และการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่าในอดีต เป็นองค์ประกอบ เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคของการเรียนการสอน จึงเน้นที่การมีอยู่จริง ของทรัพยากร อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน มีทางเลือก หลากหลายไม่ใช่เฉพาะเครื่องพีซี ดังนั้นโค้ดดิ้งจึงเป็นเทรนด์ การศึกษาพื้นฐานหรือการศึกษากระแสหลักอย่างหนึ่งที่จ�ำเป็น ของโลก มีหลายประเทศที่เล็งเห็นความส�ำคัญและมุ่งหน้าไป ในทิศทางเดียวกัน สิ่งจ�ำเป็นในตอนนี้ที่กระทวงศึกษาธิการจะ ด�ำเนินการคือเพิ่มการรับรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาครู ผู้สอนให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ตามสถานศึกษาต่างๆ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรวิทยาการค�ำนวณ ซึ่งยังถือว่าใหม่ต่อแวดวงการศึกษาไทยสามารถแบ่งตามช่วงชั้น ดังนี้ ประถมศึกษาตอนต้น ชั้น ป. 1 – ป. 3 ให้นักเรียนเข้าใจ พื้นฐานการด�ำรงชีวิต จึงเป็นการเรียนแบบ unplugged หรือ อุปกรณ์ ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เข้าใจการค�ำนวณและใช้ตรรกะในชีวิตประจ�ำวัน เครื่องมือส่วนใหญ่ในการเรียนการสอนไม่จ�ำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ เป็นหลัก ประถมศึกษาตอนปลาย ชั้น ป.4 – ป.6 เป็นการเรียน เพื่อแก้ปัญหาทั่วไปที่พบในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การออกแบบวิธีการ ในการแก้ปัญหา ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล จึงเน้นการให้ นักเรียนได้รู้จักเครื่องมือ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย มัธยมศึกษาตอนต้น ชั้น ม.1 – ม.3 ปลูกฝังการสร้าง ข้อมูลเพื่อรองรับเศรษฐกิจจากฐานความรู้ โดยการจัดการข้อมูล ปฐมภูมิ ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดในการสร้างความรู้ที่แตกต่างและ มีมูลค่า พัฒนาทักษะด้าน Data Processing ได้แก่ การเก็บรวบรวม ข้อมูล การค�ำนวณอย่างง่าย การใช้เครื่องมือ IoT ในการเก็บข้อมูล การโปรแกรมเบื้องต้น สิทธิความเป็นเจ้าของข้อมูลและความรู้ ซึ่งนักเรียนจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ชีวิตของนักเรียนในอนาคต มัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม.4 - ม.6 สร้างแนวความ คิดการน�ำข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่มหรือใช้แก้ปัญหา จึงเน้น ในเรื่องการประมวลผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มี โดยให้แนวทาง ของ Data Science เบื้องต้น และทักษะการเขียนโปรแกรมที่สูงขึ้น เพื่อใช้ในการบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนวิชาอื่นๆ หลังจากมีการประกาศใช้หลักสูตรใหม่ สสวท. จึงได้พัฒนา หลักสูตรอบรมครูออนไลน์ และหลักสูตรอบรมแบบ Face to Face เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจและเห็นแนวทางในการจัดการเรียน การสอนวิชานี้ ส�ำหรับการอบรมแบบออนไลน์ได้เปิดสอนผ่านเว็บไซต์ Teacherpd .ipst.ac.th ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และเปิดต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน ส่วนการอบรมแบบ Face to Face มีการจัดอบรมให้กับ กลุ่มครูต่างๆ เช่น ครูในโครงการครูผู้น�ำวิทยาการค�ำนวณ ครูใน โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ครูในโรงเรียนต�ำรวจตระเวน ชายแดน ศึกษานิเทศก์ที่ดูแลกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ส�ำหรับในปีนี้ครูที่อยู่ในโครงการครูผู้น�ำวิทยาการค�ำนวณได้ขยายผล โดยเป็นวิทยากรให้กับครูในกลุ่มโรงเรียนคุณภาพประจ�ำต�ำบล ทั่วภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้ สสวท. ยังท�ำการวิจัยทดลองใช้ หลักสูตรวิทยาการค�ำนวณ โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการวิจัยหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยโรงเรียน ขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ในระดับชั้นประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษารวม จ�ำนวน 49 โรงเรียน ส�ำหรับโรงเรียนประถมศึกษาที่ขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน มีทักษะในการวางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และมีตรรกะได้ใน รูปแบบกิจกรรมที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยการใช้ชุดบัตรค�ำสั่งและโจทย์ สถานการณ์ที่มีตัวละคร ภาพ และใช้สัญลักษณ์แทนค�ำสั่งต่างๆ เช่น การใช้บัตรค�ำสั่งให้ตัวละครเคลื่อนที่ การใช้ซองและบัตรค�ำสั่ง แบบเงื่อนไขเพื่อตรวจสอบการท�ำงาน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูอาจให้นักเรียนจับคู่เขียนโปรแกรม แล้วให้เพื่อนผลัดกันขยับตัว ตามโปรแกรมที่เขียน เพื่อแสดงผลลัพธ์การท�ำงาน โดยเพิ่มความ ซับซ้อนของสถานการณ์ตามศักยภาพของนักเรียน สื่อหรืออุปกรณ์ ที่ใช้สามารถหาได้ง่ายจากท้องถิ่น โดย สสวท. ได้จัดท�ำแนวทาง จัดกิจกรรมลักษณะนี้ไว้เป็นตัวอย่างแล้วในหลักสูตรอบรมครู คู่มือ การใช้หลักสูตรวิทยาการค�ำนวณ คู่มือครูในแต่ละชั้นปี และแบบฝึก ทักษะของ สสวท. ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับนักเรียนในแต่ละระดับแล้ว นอกจากนี้ สสวท. ยังได้ แนะน�ำครูในโรงเรียนที่มี คอมพิวเตอร์พร้อมแล้วให้จัดการสอนแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับ การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกกระบวนการคิดและให้นักเรียนมองเห็น แนวทางการแก้ปัญหาโดยการใช้สื่อที่หลากหลาย โดยสื่อแบบ Unplugged ที่หลายประเทศรณรงค์ ให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่อง การเขียนโปรแกรม หรือโค้ดดิ้งได้จัดท�ำไว้ เช่น code.org, barefoot computing, CS unplugged

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1