นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
35 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 การเรียนกระตุ้น ความคิด รศ.ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน • ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นฤมล ศราธพันธุ์ • ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วชิร ศรีคุ้ม • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. • e-mail: wsrik@ipst.ac.th สะเต็มศึกษากับการพัฒนาอาหารไทย ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียน การสอนที่เน้นการบูรณาการความรู้ระหว่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยน�ำจุดเด่นของธรรมชาติ ของการเรียนรู้ เนื้อหา และแนวปฏิบัติของ แต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรม ท�ำให้ผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่บนพื้นฐาน ความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ ผู้ เรียนยังได้พัฒนาความคิด สร้างสรรค์ การสื่อสาร ภาวะความเป็นผู้น�ำ และการท�ำงานร่วมกันกับคนอื่น และหากมี การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนก็จะสามารถ ประยุกต์ทักษะ และความรู้ดังกล่าวไปใช้ใน ชีวิตประจ�ำวัน เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม ประเทศชาติรวมทั้งพัฒนาความเป็นสากลมนุษย์ ต่อไป (วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา, 2559; สนธิ พลฃัยยา, 2557; พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, 2556) ในปัจจุบันโลกของเรามีการแข่งขันในด้านต่างๆ อย่าง มากมาย การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องแสวงหาหนทางที่แปลกใหม่ ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์และ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Creative andGreen Economy) ซึ่งเป็น การสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ (Hawkins, 2001) แนวทางการพัฒนาเศษฐกิจสร้างสรรค์มีความส�ำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ เราสามารถใช้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในยุคใหม่ที่เน้นการพัฒนาด้วยการเจริญเติบโตแบบสมดุลและยั่งยืน บนพื้นฐานความได้เปรียบที่แท้จริงของบริบทในประเทศ เพื่อยกระดับ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการพึ่งพิงปัจจัยการผลิต ที่มีราคาถูกและใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่ อยู่ในระดับที่สูงขึ้น เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและ สร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ที่จะสามารถ ท�ำให้ประเทศมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (พริ้ม ศรีหานาม, 2553; ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2552) หนึ่งในบริบทที่เป็นจุดเด่นของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับ กันมาอย่างแพร่หลายและยาวนานก็คือ อาหารไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม ธุรกิจเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน “กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม” และเพื่อเป็น การสร้างเอกลักษณ์และความน่าสนใจ การพัฒนาอาหารไทยยุค เศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงควรต้องมีการน�ำวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ผสมผสานกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างสร้างสรรค์ สามารถน�ำไปสู่ การผลิตหรือแนวทางในการน�ำเสนออาหารไทยที่มีคุณค่ าทาง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการที่จะท�ำให้ประเทศแข่งขันได้ในเวทีโลก เราจ�ำเป็นต้องมีการเตรียมบุคคลากรที่สนใจในการประกอบอาหารไทย ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารไทยให้เพิ่มมากขึ้น และควร ส่งเสริมและพัฒนาในหลายมิติ ทั้งในด้านการผลิต บรรจุภัณฑ์ และ การบริการ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1