นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

36 นิตยสาร สสวท คณะผู้เขียนจึงได้พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนของนิสิตในระดับอุดมศึกษา โดยใช้สะเต็มศึกษาเป็นแนวทางในการจัด การเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนผ่านกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ส�ำหรับการจัด การเรียนรู้ทางคหกรรมศาสตร์ (Wesley, 2015) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นระบุปัญหา (Identify Problem) 2. ขั้นระดมสมอง (Brainstorm) 3. ขั้นออกแบบ (Design) เริ่มต้นบทเรียนโดยให้ผู้เรียนพิจารณาสถานการณ์ในการสร้างสรรค์เมนูอาหาร โจทย์ที่ได้รับคือ “ฉันจะ พัฒนาต�ำรับอาหารไทยเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างไร” ที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ เป็นเมนูสุขภาพ ด้วยกิจกรรม “KU DISH” เพื่อสร้างสรรค์ต�ำรับอาหารไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และแฝงด้วย ภูมิปัญญาอาหารไทย โดยจากนั้นผู้เรียนสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติ พืชผักที่เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อน�ำข้อมูลมาสร้างสรรค์ต�ำรับอาหาร ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์เมนูอาหาร สุขภาพ โดยผู้สอนอาจชี้แนะให้อ้างอิงต�ำรับอาหารไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เช่น อาหารประเภท แกง ย�ำ หรืออาหารว่าง โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนพิจารณาข้อมูลเชิงลึกของแต่ละต�ำรับอาหาร วิธีการประกอบอาหาร ประโยชน์ของส่วนผสมในด้านสุขภาพและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียนน�ำข้อมูลที่สืบค้นได้มาออกแบบสร้างสรรค์ เมนูอาหารไทยที่ได้จากการระดมสมอง ประยุกต์ใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง โดยผู้สอนให้ค�ำแนะน�ำ ส่งเสริม และให้ผู้เรียน แต่ละกลุ่มน�ำเสนอแนวคิดในการพัฒนาที่สอดคล้องกับ โจทย์ที่ได้รับ เช่น ประเด็นอาหารเพื่อสุขภาพ การสะท้อน ภูมิปัญญาอาหารไทย เอกลักษณ์ของเมนูที่สร้างสรรค์ ในที่นี่ขอยกตัวอย่างผลงานของผู้เรียนที่น่าสนใจ ได้แก่ เมนูข้าวย�ำไรซ์เบอรีราดซอสเขียวหวานแก่นตะวัน ภาพ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ส่วนผสม ผู้เรียนได้มีการวิเคราะห์ส่วนผสมดังนี้ 1) แกงเขียวหวาน มีสีเขียวที่เป็นสีประจ�ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) ข้าวย�ำ เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสมุนไพรที่สะท้อนภูมิปัญญาของอาหารไทยที่มีการน�ำสมุนไพรมาประกอบอาหาร เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ พริก 3) ข้าวไรซ์เบอรี เป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมีสารแกมมาโอไรซานอล ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด และ 4) แก่นตะวัน มีคุณสมบัติช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งของน�้ำดี ขับปัสสาวะ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ลดไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ สร้างภูมิคุ้มกันโรค นอกจากนี้ ยังมีอินนูลินซึ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะและล�ำไส้เล็ก จึงอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้เป็นเวลานาน ลดความรู้สึกหิว หรือท�ำให้กินอาหารได้น้อยลง จึงสามารถช่วยลดน�้ำหนัก

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1