นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
37 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 บรรณานุกรม Howkins, J. (2001). The Creative Economy: How People Get Money from Ideas . London: Penguin Book Ltd. Wesley, W. (2015). Reinforcing STEM Education through the Home Economics curriculum. Retrieved October 24, 2019, from www1.heart-nta.org. พริ้ม สีหานาม. (2553). โอกาสและความท้าทายของ Creative Economy. Engineer Today . 8 (88), 28 - 30. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นักบริหาร. 33 (2), 50 - 56. วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุทธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM education (สะเต็มศึกษา) . กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท. 42 (189), 7-10. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). เอกสารประกอบประชุมประจ�ำปี ๒๕๕๒ ของ สศช. เรื่องวิสัยทัศน์ 2570 สู่แผนฯ 11. นนทบุรี: ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี. 4. ขั้นสร้าง ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข และประเมินผล (Build, Test, Redesign, and Evaluate) 5. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Share Solution) ผู้เรียนประกอบอาหารตามต�ำรับที่สร้างสรรค์ขึ้น ทดสอบด้วย การชิมรสชาติ ผิวสัมผัสอาหาร และน�ำเสนอผลงาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ จุดเด่น จุดด้อย และข้อที่ควรปรับปรุง และมีการปรับปรุงต�ำรับในครั้งต่อไป ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างรายละเอียดผลงานข้าวย�ำไรซ์เบอร์รี ราดซอสเขียวหวานแก่นตะวัน ในการพัฒนาครั้งแรก ซอสเขียวหวาน มีรสชาติจืดและขนาดเสิร์ฟที่ใหญ่เกินไป ไม่สะดวกต่อการรับประทาน ผู้เรียนจึงน�ำผลการประเมินมาปรับปรุงในครั้งที่ 2 ท�ำให้ได้เมนูสร้างสรรค์ ใหม่ โดยดัดแปลงการเสิร์ฟเป็น “ซูชิข้าวย�ำไรซ์เบอร์รีราดซอสเขียวหวาน แก่นตะวัน” และได้มีการประเมินผลอีกครั้ง เพื่อพัฒนาให้ได้ต�ำรับ ที่ได้มาตรฐานต่อไป ผู้เรียนน�ำเสนอขั้นตอนในการสร้างสรรค์ต�ำรับ และสะท้อน หลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การป้องกันการเกิดปฏิกิริยาสีน�้ำตาล ในผักหลังจากการปอกด้วยการแช่ในน�้ำที่ผสมน�้ำมะนาว การผัด เครื่องแกงในกะทิท�ำให้มีกลิ่นหอม การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการ ประกอบอาหาร การน�ำคณิตศาสตร์มาใช้ในการค�ำนวณปริมาณ แคลอรี่ในเมนูที่สร้างสรรค์ ภาพ 3 การน�ำเสนอชิ้นงานของผู้เรียน ในเวทีการประชุมวิชาการ จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาท�ำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาต�ำรับอาหาร ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ อีกทั้งตอบโจทย์ความต้องการการรับประทานอาหารไทยในยุคปัจจุบัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดผู้เรียนต่างสะท้อนว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวท�ำให้ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การท�ำงานร่วมกัน การสืบค้นข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่ส�ำคัญในศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง ทักษะการจัดการทรัพยากร ได้แก่ เวลา แรงงาน งบประมาณ และการท�ำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งการจัดการทรัพยากรนี้เป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาทางคหกรรมศาสตร์ ผู้เขียนเชื่อว่าทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษานี้ จะเป็นแนวทางหนึ่ง ในการเตรียมนักคหกรรมศาสตร์ให้เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาอาหารไทยในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ภาพ 2 การน�ำเสนอซูชิข้าวย�ำไรซ์เบอรรี ราดซอสเขียวหวาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1