นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
38 นิตยสาร สสวท ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นการน�ำเสนอแนวคิด โดยมีการจัดล�ำดับแนวคิดและแสดงความเชื่อมโยง ระหว่างแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจมีสองแนวคิดหรือมากกว่านั้น ผังมโนทัศน์ถือเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการพัฒนา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน (Novak, 1990) ผังมโนทัศน์ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดขั้นสูง (Edmondson, 2000) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือสรุปแนวคิดเพื่อแสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ ที่ ตนเองได้เรียนรู้ ดร.ณัฐธิดา พรหมยอด • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. • e-mail: nprom@ipst.ac.th การเรียนกระตุ้น ความคิด ลักษณะของผังมโนทัศน์ ผังมโนทัศน์เป็นการน�ำเสนอแนวคิดต่างๆ ในรูปแบบกราฟิกหรือไดอะแกรม ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของแนวคิดย่อย ที่อยู่ภายใต้แนวคิดหลัก ลักษณะส�ำคัญคือ มีการใช้ค�ำเชื่อมเพื่อเชื่อมโยงค�ำหรือแนวคิดต่างๆ ให้มีความหมาย (Novak & Gowin, 1984) โดยใช้เส้นหรือลูกศรในการเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน (NRC, 2001) การสร้างผังมโนทัศน์เป็นการฝึก ให้ผู้เรียนจัดกระท�ำ และน�ำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่ก�ำลังเรียนอยู่ได้อย่างเป็นล�ำดับ ผังมโนทัศน์เริ่มต้นด้วยการน�ำเสนอแนวคิดหลักของเนื้อหานั้นๆ แล้วแตกกิ่งก้านออกไปเพื่อแสดงแนวคิด ย่อยหรือหัวข้อย่อยที่มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดหลัก โดยมากแล้วผังมโนทัศน์จะมีการจัดเรียงแนวคิดเป็นล�ำดับขั้น (Hierarchy) ซึ่งอาจเริ่มจากแนวคิดหลักอยู่ด้านบนแล้วตามด้วยแนวคิดย่อยเรียงตามล�ำดับขั้นลงมา หรือเริ่มจากแนวคิด ทั่วไป (General Concepts) ไปสู่แนวคิดที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Specific Concepts) ทั้งนี้ในการจัดเรียงล�ำดับ มักจัดให้แนวคิดที่มีความส�ำคัญเท่าๆ กันอยู่ในระดับเดียวกัน โดยมากแล้วผังมโนทัศน์จะมีกล่องข้อความหรือมีการท�ำ กรอบล้อมรอบแต่ละแนวคิดไว้ และมีการใช้ค�ำเชื่อมหรือวลีเชื่อมโยงแต่ละแนวคิด เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ และ สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนศึกษาแนวคิดหลักเรื่องแม่เหล็ก ก็จะมีแนวคิดย่อยๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องนี้หลายๆ แนวคิด เช่น แรงแม่เหล็ก แรงไม่สัมผัส แรงดึง แรงผลัก สารแม่เหล็ก ขั้วแม่เหล็ก แนวการวางตัวของ แท่งแม่เหล็ก โดยถ้าเราน�ำแนวคิดทั้งหมดนี้มาแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบผังมโนทัศน์ อาจแสดงได้ ดังนี้ การน�เสนอแนวคิด ผ่านผังมโนทัศน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1