นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

39 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 จากตัวอย่างผังมโนทัศน์เรื่องแม่เหล็ก จะเห็นว่ามีการจัดล�ำดับแนวคิดโดยแยกออกเป็นแนวคิดย่อยๆ ซึ่งอยู่ ภายใต้แนวคิดหลักเรื่องแม่เหล็ก รวมทั้งมีการเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ ด้วยค�ำเชื่อม และสามารถประกอบกันเป็นประโยคเพื่อ น�ำเสนอแนวคิดหรือความหมายของแม่เหล็ก อย่างไรก็ตามผังมโนทัศน์ก็มีหลายรูปแบบ โดยอาจมีความซับซ้อนมากกว่านี้ เช่น มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด ดังที่แสดงด้วยลูกศรสีแดงในตัวอย่างผังมโนทัศน์เรื่องแม่เหล็ก นอกจากนี้ ภายใต้แนวคิดหลักเดียวกัน ผู้เรียนก็อาจมีรูปแบบการน�ำเสนอที่เรียงล�ำดับแนวคิดหลักไปหาแนวคิดย่อยแตกต่างกัน เช่น เรียงล�ำดับจากบนลงล่าง ดังตัวอย่างเรื่องแม่เหล็กข้างต้น ซึ่งเป็นรูปแบบหรือโครงสร้างของผังมโนทัศนที่มักจะพบได้บ่อย เรียงล�ำดับจากซ้ายไปขวา เรียงโดยวางแนวคิดหลักไว้ตรงกลางของผังมโนทัศน์แล้วขยายแนวคิดย่อยๆ ออกไปด้านข้าง และเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาในแนวคิดนั้นลึกขึ้น ก็สามารถมาเพิ่มแนวคิดย่อยเพื่ออธิบายรายละเอียดของแนวคิดหลักได้ อย่างไรก็ตามการให้ผู้เรียนได้เริ่มฝึกสร้างผังมโนทัศน์ ครูอาจแนะน�ำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจนช�ำนาญก่อนจึงค่อยแนะน�ำ รูปแบบอื่นๆ ต่อไป ภาพ 1 ตัวอย่างผังมโนทัศน์เรื่องแม่เหล็ก ผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ผังมโนทัศน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดโดยฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ เห็นภาพความเชื่อมโยง ของแนวคิดภายใต้หัวข้อที่ก�ำลังศึกษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างหรือสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ท�ำให้การเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีความหมาย ไม่แยกส่วน และไม่เป็นเพียงการท่องจ�ำ ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนา การเรียนรู้นั้น อาจเริ่มต้นจากค�ำถามส�ำคัญ (Focus Question) (Novak & Canas, 2007) ซึ่งควรเป็นค�ำถามที่ตอบได้จาก การน�ำหลายๆ แนวคิดมาประกอบกัน และเน้นให้ตอบโดยการใช้ความคิดในการอธิบายมากกว่าที่จะน�ำเสนอแค่ค�ำจ�ำกัดความ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1