นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
4 นิตยสาร สสวท ไมโครพลาสติก (Microplastics) การปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ภาพ 2 ตัวอย่างไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาด ที่มา https://www.dailymail.co.uk/debate/article- 3771697/DAILY-MAIL-COMMENT-victory-Mail- fragile-planet.html ภาพ 4 ไมโครบีดส์อยู่ในกระเพาะอาหารปลา ที่มา https://www.gizmodo.com.au/2016/06/young- fish-get-hooked-on-plastic-microbeads/ ภาพ 3 ตัวอย่างไมโครพลาสติก ที่มา https://www.eco-business.com/opinion/ microplastics-small-plastics-big-problem เป็นพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มาจาก การสลายของพลาสติกต่างๆ ที่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม ไมโครพลาสติกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Primary Microplastics เป็นไมโครพลาสติกที่ผลิต ขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เม็ดพลาสติก ที่เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ พลาสติก เช่นพอลิเอทิลีนพอลิโพรพิลีนพอลิสไตรีน หรือเป็นเม็ดพลาสติกที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด เช่น ไมโครบีดส์ในโฟมล้างหน้า เครื่องส�ำอาง สครับ ขัดผิว โฟมล้างหน้า ครีมขัดผิว ครีมอาบน�้ำ ยาสีฟัน รวมไปถึงเส้นใยสังเคราะห์ ไมโครไฟเบอร์จาก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 2. Secondary Microplastics เป็นไมโครพลาสติกที่ เกิดการย่อยสลายของพลาสติกขนาดใหญ่และสาร เติมแต่ง ด้วยแสงอาทิตย์ กระบวนการทางเคมี ทาง ชีวภาพ และกายภาพ เนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากและ ไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ ท�ำให้ยากต่อการเก็บและ การก�ำจัดจึงแพร่กระจายปนเปื้อนสะสมและตกค้างอยู่ใน สิ่งแวดล้อม ส่วนขยะพลาสติกขนาดใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดการย่อยสลาย ฉีกขาด แตกหัก ผุกร่อนเป็น ชิ้นเล็กๆ เปลี่ยนเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งก่อให้ เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน โดยพบว่ามีการ ปนเปื้อนของไมโครพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ท�ำความ สะอาด และเส้นใยจากผ้าใยสังเคราะห์ในน�้ำทิ้งจาก ครัวเรือน และในแหล่งน�้ำธรรมชาติ เนื่องจากระบบบ�ำบัด น�้ำเสียในปัจจุบัน ยังไม่สามารถก�ำจัดไมโครพลาสติก เหล่านี้ได้ เมื่อไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปยังแหล่งน�้ำ ธรรมชาติ จะเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร โดยสัตว์น�้ำกิน ไมโครพลาสติกเข้าไปและสัตว์น�้ำถูกกินโดยสัตว์อื่นๆ เช่น นก มนุษย์ ท�ำให้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าไปสะสม อยู่ในตัวสัตว์และมนุษย์ เนื่องจากไมโครพลาสติก ไม่ย่อยในระบบย่อยอาหาร จึงไปสะสมอยู่ในสัตว์หรือคน ที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป และยังพบว่าไมโครพลาสติก ที่มีสารในกลุ่มพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) พอลิคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs) ดีดีที (DDT) และ ไดออกซิน ซึ่งเป็นสารปนเปื้อนก่อมะเร็งและจะส่งผล ต่อร่างกาย โดยไปขัดขวางการท�ำงานของต่อมไร้ท่อ และอาจท�ำให้เกิดเป็นมะเร็งได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1