นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
40 นิตยสาร สสวท ผังมโนทัศน์เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ นอกจากการใช้ผังมโนทัศน์เพื่อน�ำเสนอแนวคิดต่างๆ ในการพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ผังมโนทัศน์ยังสามารถใช้ เป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนว่ามีการจัดระบบความคิดอย่างไร มีการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล หรือสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดต่างๆ ที่ได้เรียนไปได้หรือไม่ (McClure et al., 1999, Edmondson, 2000) ในการน�ำผังมโนทัศน์มาจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนนั้น อาจใช้ได้หลากหลายจุดประสงค์ เช่น น�ำมาใช้ก่อนเริ่ม บทเรียนเพื่อทบทวนความรู้พื้นฐานหรือตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียน น�ำมาใช้หลังจากจบบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสรุป สิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือใช้เพื่อเชื่อมโยงแนวคิดในเรื่องที่ก�ำลังเรียนกับเรื่องเคยเรียนมาแล้ว (Novak & Canas, 2015) และ เมื่อเรียนเพิ่มเติมในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ครูอาจให้ผู้เรียนมาเขียนความเชื่อมโยงเติมในผังมโนทัศน์อีกครั้ง เพื่อแสดง ภาพใหญ่ของแต่ละแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน วิธีการนี้ช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่ได้เรียนไป ตลอดจนช่วยให้ ผู้เรียนไม่ลืมเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้วอีกด้วย (Romero et al., 2017) การน�ำผังมโนทัศน์มาใช้ในการวัดผลหลังจบบทเรียน (Summative Assessment) เป็นวิธีการที่ครูจะใช้ประเมินว่า ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเพียงใดหลังจากเรียนเนื้อหาจบ โดยครูอาจท�ำได้หลายวิธี เช่น ให้ค�ำส�ำคัญหรือแนวคิดย่อยๆ ที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว จากนั้นให้นักเรียนน�ำค�ำเหล่านั้นมาประกอบเป็นผังมโนทัศน์ โดยเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ตามที่ตนเองเข้าใจ หรืออาจให้นักเรียนสร้างผังมโนทัศน์เพื่อสรุปแนวคิดที่ได้เรียนรู้ไปตามความเข้าใจของตนเองทั้งหมด นอกจากการประเมินหลังจบบทเรียนแล้ว ครูอาจน�ำผังมโนทัศน์มาเป็นเครื่องมือในการประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) โดยผลที่ได้จะช่วยสะท้อนว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดที่ก�ำลังเรียนดีเพียงใด หรือมีความเข้าใจ คลาดเคลื่อนใดบ้าง ซึ่งครูสามารถน�ำผลดังกล่าวมาปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบใน ผังมโนทัศน์ของผู้เรียนได้ เช่น ในเรื่องตัวกลางของแสง ซึ่งประกอบด้วยหลายๆ แนวคิด เช่น “ตัวกลางของแสงเป็นวัตถุที่ แสงสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้” “ตัวกลางของแสงแบ่งออกเป็นตัวกลางโปร่งใสและตัวกลางโปร่งแสง” “ตัวกลางโปร่งใสคือวัตถุ ที่เมื่อน�ำมากั้นแสงแล้วท�ำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังวัตถุนั้นได้ชัดเจน แต่ตัวกลางโปร่งแสงจะมองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเจน” แนวคิดเหล่านี้ นักเรียนอาจน�ำมาจัดเรียงอยู่ในรูปแบบของผังมโนทัศน์ได้ ดังภาพ 2 (Derbentseva et al., 2006) เช่น “ท�ำไมโลกของเราจึงมีหลายฤดู” เป็นค�ำถามที่เน้นกระบวนการคิดมากกว่าการถามว่า “บนโลกของเรามีกี่ฤดู อะไรบ้าง” ซึ่งแนวค�ำตอบในค�ำถามนี้จะไม่ซับซ้อน ตอบได้โดยการให้ข้อมูลที่มาจากความจ�ำ หรือ ค�ำถามที่ว่า “พืชคืออะไร” แนวการน�ำเสนอค�ำตอบในผังมโนทัศน์ของผู้เรียนก็จะเป็นเพียงแค่การบรรยาย การจ�ำแนกประเภท หรือการให้ความหมายของค�ำว่าพืช ดังนั้นในการเริ่มต้นฝึกการสร้างผังมโนทัศน์ที่กระตุ้นความคิดของผู้เรียน ครูอาจจะให้ ค�ำถามส�ำคัญเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น โดยถ้าเริ่มต้นด้วยค�ำถามที่ดี การสร้างผังมโนทัศน์ของผู้เรียนก็จะสามารถน�ำเสนอข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ครูควรให้เวลากับผู้เรียนอย่างเพียงพอในการสร้างผังมโนทัศน์ เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสคิดอย่างรอบคอบในการน�ำเสนอแนวคิด (Edwards & Fraser, 1983) ในการสร้างผังมโนทัศน์ นอกจากจะใช้วิธีการวาดรูปกราฟิกล้อมรอบแนวคิดต่างๆ แล้ว ยังอาจน�ำเสนอใน รูปแบบต่างๆ เช่น การใช้แผ่น Post-it ประกอบแต่ละแนวคิดให้ออกมาในรูปแบบไดอะแกรม ซึ่งการใช้แผ่น Post-it จะท�ำให้ สามารถเลื่อนหรือปรับต�ำแหน่งของแต่ละแนวคิดได้ง่ายในระหว่างการจัดกระท�ำข้อมูล หรืออาจน�ำเสนอความคิดผ่าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น การใช้โปรแกรมสร้างผังมโนทัศน์ที่เรียกว่า Cmap ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเช่นกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1