นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
41 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 จากผังมโนทัศน์ที่แสดง ครูสามารถประเมิน ความเข้าใจของผู้เรียนได้ โดยจะพบว่าผู้เรียนยังมี ความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสับสนเกี่ยวกับความหมาย ของตัวกลางโปร่งแสงและตัวกลางโปร่งใส และยกตัวอย่าง วัตถุที่เป็นตัวกลางโปร่งใสผิด นั่นคือกระดาษไขซึ่งเป็น ตัวกลางโปร่งแสง ดังนั้นครูจะสามารถช่วยแก้ความเข้าใจ คลาดเคลื่อนนี้ได้อย่างทันท่วงที โดยชักชวนนักเรียน ท�ำกิจกรรมใหม่หรืออภิปรายเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ผังมโนทัศน์ของผู้เรียนอาจเป็นได้หลาย รูปแบบ ทั้งรูปแบบการน�ำเสนอเนื้อหาที่ซับซ้อน หรือเป็นแค่การน�ำเสนอความรู้พื้นฐาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ กับวัยและระดับชั้นของผู้เรียนที่ท�ำให้แนวคิดหรือ เนื้อหาต่างๆมีความซับซ้อนแตกต่างกันไป การประเมิน ผังมโนทัศน์ของผู้เรียนอาจท�ำได้โดยดูจากหลายมิติ เช่น ความครบถ้วนด้านเนื้อหา ความถูกต้องของแนวคิด ต่างๆ โดยสังเกตจากการแสดงความสัมพันธ์ของ แต่ละแนวคิดที่ปรากฏในผังมโนทัศน์ ความเหมาะสม ของค�ำเชื่อมที่ใช้ รวมไปถึงล�ำดับขั้นในการน�ำเสนอ แนวคิดภายในผังมโนทัศน์ ภาพ 2 ตัวอย่างผังมโนทัศน์ของผู้เรียนเรื่องตัวกลางของแสง การเรียนรู้ผ่านการท�ำปฏิบัติการหรือกิจกรรมต่างๆ อาจไม่มีความหมายเลย ถ้าผู้เรียนไม่มีโอกาสสรุปหรือจัดล�ำดับ ความคิดของตนเองในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป ผังมโนทัศน์นับเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ช่วยส่งเสริมกระบวนเรียนรู้ของผู้เรียน ท�ำให้ การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย อย่างไรก็ตาม การสร้างผังมโนทัศน์ที่ดีอาจเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายส�ำหรับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้เรียนเคยชินกับการเรียนแบบท่องจ�ำ (Novak, 1990) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่ได้พัฒนาการ คิดอย่างเป็นระบบและการคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนากระบวนการคิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควร ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกกระบวนการคิดซึ่งผังมโนทัศน์เป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง บรรณานุกรม Edmondson, K. (2000). Assessing science understanding through concept maps. Assessing Science Understanding. San Diego: Academic Press. Edwards, J. & Fraser, K. (1983). Concept maps as reflections of conceptual understanding. Research in Science Education, 13 , 19-26. McClure, J. R., Sonak, B. & Suen, H. K. (1999). Concept map assessment of classroom learning: reliability, validity, and logistical practicality. Journal of Research in Science Teaching, 36 (4), 475-492. National Research Council. (2001). Knowing what students know: The science and design of educational assessment. Washington, DC: National Academies Press. Novak, J. D. (1990). Concept mapping: A useful tool for science education. Journal of Research in Science Teaching, 27 (10), 937-949. Novak, J. D. & Canas, A. J. (2007). Theoretical origins of concept maps, how to construct them, and uses in education. Reflecting education, 3 (1), 29-42. Novak, J. D. & Canas, A. J. (2015). The theory underlying concept maps and how to construct them. (July, 2015). Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/252642478_The_Theory_Underlying_Concept_Maps_and_How_to_Construct_Them. Novak, J. D. & Gowin, D. B. (1984). Learning How to Learn . New York: Cambridge. Romero, C. Cazorla, M. & Buzon, O. (2017). Meaningful learning using concept maps as a learning strategy. Journal of Technology and Science Education, 7 (3), 313-332.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1