นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

42 นิตยสาร สสวท ดร.อรสา ชูสกุล • ผู้ช�ำนาญ สาขาเคมีและชีววิทยา สสวท. • e-mail: ochoo@ipst.ac.th สร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อการเรียนรู้ การเรียนกระตุ้น ความคิด เมื่ออ่านชื่อบทความแล้ว ผู้อ่านอาจสงสัยว่าบทความนี้จะเขียนเกี่ยวกับอะไร บางคนอาจคิดว่า เป็นบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้ดูดีในสายตาของผู้อื่น หรือบางคนอาจคิดว่า คงเขียนเกี่ยวกับเทคนิคการวาดภาพ สร้างสรรค์ภาพจากงานศิลปะ เพื่อให้ภาพออกมาสวยงามและดูดี ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด แต่สิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดคือ กิจกรรม ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้หลักการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย มาช่วยท�ำให้รูปภาพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีความ น่าสนใจ และช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น กิจกรรมนี้เหมาะส�ำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และเป็นกิจกรรมที่ครูหรือผู้ที่สนใจสามารถน�ำไปใช้ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก นอกจากนี้ กิจกรรมนี้ยังสอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียน รู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 1. ระบุส่วนประกอบและบรรยายหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากหลักฐาน เชิงประจักษ์ 2. เขียนแผนภาพและต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายวิธีการและผลของการต่อ เซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม 4. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมโดยบอกประโยชน์และการ ประยุกต์ใช้ชีวิตประจ�ำวัน 5. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม และแบบขนาน 6. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน โดยบอก ประโยชน์ ข้อจ�ำกัด และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน กิจกรรมนี้ครูอาจเริ่มต้นด้วยการใช้ค�ำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด โดยอาจตั้งค�ำถามว่า จากชื่อ กิจกรรม สร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อการเรียนรู้ นักเรียนคิดว่าวันนี้ครูจะให้นักเรียนท�ำกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งค�ำตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย อาจจะเหมือนหรือแตกต่างจากที่เขียนไว้ตอนต้นบทความก็ได้ จากนั้นครูบอกวัตถุประสงค์ของการท�ำกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้ทราบว่ากิจกรรมนี้ต้องการให้นักเรียนรู้อะไร สามารถท�ำอะไรได้ จุดประสงค์ของกิจกรรม มีดังนี้ 1. อธิบายความส�ำคัญและประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า 2. อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้า 3. อธิบายส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย และสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า 4. เปรียบเทียบความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าเปิด ปิด 5. ต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม และแบบขนานได้ 6. น�ำความรู้มาสร้างชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรม สร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อการเรียนรู้ ข้อมูลเพิ่มเติม

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1