นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

47 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 การใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ เป็นการศึกษาเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในสภาพความเป็นจริงแบบ องค์รวม (Holistic) โดยเริ่มต้นจากการค้นหาประเด็นเรียนรู้ หรือประเด็นที่สนใจรอบๆ ตัว โดยแบ่งลักษณะของปรากฏการณ์ ได้เป็น 3 ปรากฏการณ์ คือ ภาพ 2 การออกแบบการเรียนรู้แบบ Phenomenon-Based Learning ; PhenoBL 1. ปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น สังคมผู้สูงอายุ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม 2. ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น startup ร้านกาแฟ ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภค ต่างๆ ปรากฏการณ์ ทางเศรษฐกิจยุคข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจและรายได้ในชุมชน 3. ปรากฏการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ความแห้งแล้ง น�้ำเสีย ขยะ จากภาพ 2 การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ ปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ เกิดจากการออกแบบ ร่วมกันของครูในแต่ละรายวิชา โดยใช้เนื้อหาในวิชาของ ตนเองเข้ามาร่วมกันสอนในแต่ละปรากฏการณ์ที่ก�ำหนด ร่วมกัน และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งในพื้นที่ หรือนอกพื้นที่ และมีการปรึกษาหารือร่วมกันตลอด การจัดการเรียนรู้ อาจจะเป็นกลุ่มย่อย หรือเป็นคู่ เมื่อมี ความคิดใหม่ๆ หรือเมื่อเกิดปัญหาในการจัดการเรียนรู้ และไม่ได้เป็นรูปแบบที่ตายตัว ไม่ได้เน้นการท�ำเอกสารส่ง แต่เน้นการแก้ปัญหาร่วมกัน เฉพาะนักเรียนรายบุคคลที่ เกิดปัญหา เช่น การแชร์พฤติกรรมของเด็กขณะเรียน หรือ การก�ำหนดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกัน ล�ำโพงขยายเสียง ของโทรศัพท์มือถือ สังคม ศิลปะ การอาชีพ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี “การสอนแบบบูรณาการ ไม่ใช่การสอนแบบที่ครูหลายคนเข้าสอนพร้อมๆ กันในห้องเดียวกัน” แต่เป็น การสอนที่ร่วมมือกัน โดยครูแต่ละคนสอนเนื้อวิชาของตนเองให้สอดคล้องเป็น “Theme” เดียวกัน ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง และน�ำความรู้นั้นๆ ไปใช้ได้ทันทีเมื่อการประกอบจิ๊กซอว์ท�ำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ซึ่งแต่ละวิชาจะใช้กระบวนการใดๆ ก็ได้ แล้วแต่บริบทของรายวิชานั้นๆ เพื่อฝึกฝนทักษะให้กับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ต่างๆ ก็สามารถน�ำมาสร้าง เป็นชิ้นงานได้ด้วยตนเอง จากตัวอย่างในภาพ 2 เหตุผลที่เลือกปรากฏการณ์การเรียนรู้เรื่อง ล�ำโพงขยายเสียงของโทรศัพท์ มือถือ เนื่องจาก 1. ผู้เรียนมีความสนใจ เนื่องจากในขณะนั้นล�ำโพงโทรศัพท์ก�ำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น 2. โรงเรียนอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม 3. มีความเป็นไปได้ของการออกแบบการสอนร่วมกันและสอดคล้องกับหลักสูตร

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1