นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

48 นิตยสาร สสวท ภาพ 3 ก. วิชาศิลปะ ข. วิชาอิเล็กทรอนิกส์ ค. วิชางานอาชีพ ก ข ค ตัวอย่างเนื้อหาในแต่ละสาขาวิชา • วิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาเรื่องเสียง การก�ำเนิดเสียง คุณสมบัติของเสียง คุณภาพของเสียง ระดับความเข้มเสียง • เทคโนโลยี การออกแบบ กราฟฟิกดีไซน์ • ศิลปะ สี แสงและเงา รูปแบบงานศิลปะร่วมสมัย • สังคม การท�ำงานร่วมกัน จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ของศิลปะ • การงานอาชีพ งานไม้ งานออกแบบงานไม้ การใช้เครื่องมือ งานกลึง • คณิตศาสตร์ พื้นที่ ปริมาตรรูปทรง การวัด อัตราส่วน ซึ่งปรากฏการณ์เป็นฐานเรียนรู้ อาจเกิดจากการส�ำรวจ สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และศึกษาความเป็นไปได้ ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาไทยกับการประยุกต์ใช้ Phenomenon - Based Learning เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย แบ่งการบริหารจัดการเป็นกลุ่มสาระ มีหลักสูตรค่อนข้าง ตายตัวและอัดแน่นไปด้วยมาตรฐาน/ตัวชี้วัดต่างๆ การบูรณาการ จึงค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็สามารถท�ำได้ หากต้องการให้ ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง การจัดการเรียนสอนแบบ บูรณาการในรูปแบบปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ จึงเป็น ค�ำตอบที่ครูหลายๆ คนอาจให้ความสนใจ กล่าวคือ น�้ำเสีย สังคม คณิตศาสตร์ การงานอาชีพ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี ภาพ 4 การออกแบบการเรียนรู้แบบ Phenomenon-Based Learning; PhenoBL ของโรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ 1. เป็นการจัดการเรียนการสอนข้ามรายวิชา เพื่อ ให้ผู้เรียนพัฒนาของแต่ละวิชาไปพร้อมๆ กัน (ซึ่งในชีวิตจริง ก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว) 2. ท�ำให้เกิด Professional Learning Community (PLC) ในรูปแบบกลุ่มครู ทั้งในที่เป็นครูในโรงเรียนและครู ต่างโรงเรียนกันได้ 3. แม้ว่าจะเป็นการสอนแบบบูรณาการ แต่ก็ไม่ จ�ำเป็นต้องเข้าสอนพร้อมกันในห้องเดียวกัน ชั่วโมงเดียวกัน เสมอไป ไม่จ�ำเป็นต้องมีครูครบทุกวิชา หากแต่ครูคนเดียว ก็สามารถสอนให้ครอบคลุมทั้งหมดทุกวิชาได้เช่นกัน หรือ แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ แล้วเวียนกันสอน ก็สามารถท�ำได้

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1