นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
49 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 หลักในการดำ�เนินการ ภาพ 5 นักเรียนน�ำเสนอการส�ำรวจชุมชน ภาพ 6 ประชุมก�ำหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัด 4. กระบวนการในการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ เช่น STEM / 5E / 7E / 4MAT / CIPPA ซึ่งเป็นไปตามบริบทของโรงเรียน สภาพความพร้อมและพัฒนาการของผู้เรียน 5. วัดผลประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เช่น ประเมินผลจากชิ้นงาน แฟ้มสะสมผลงาน การประเมิน ตนเองของผู้เรียน การประเมินพฤติกรรม การประเมินพัฒนาการของผู้เรียน 1. คัดเลือกประเด็น/ปรากฏการณ์ที่จะน�ำไปสู่ การจัดการเรียนรู้ ควรเลือกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่ชัดเจน เป็นที่รู้จักของเด็กในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ประเพณีปล่อย โคมลอย ไหลเรือไฟ น�้ำป่าไหลหลาก ปรากฏการณ์ที่เลือกจึง เป็นเสมือน Theme ที่ต้องจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยศาสตร์ของ ครูแต่ละคนที่ตนเองถนัด ดังนั้นในขั้นนี้จึงเสมือนเป็นการพัฒนา หลักสูตรหรือพัฒนาค�ำอธิบายราชวิชา 2. เชื่อมโยงมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระ ที่ต้องจัดการให้สอดคล้องกับหลักสูตร ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่ เลือกจึงไม่จ�ำเป็นต้องมีเนื้อหาเรื่องเดียว อาจมีหลายเนื้อหา ก็ได้ใน 1 ภาคเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามหลักสูตร ในขั้นตอนนี้จึงเป็นเหมือการพัฒนาโครงสร้างรายวิชา แต่เป็น การวางโครงสร้างที่แต่ละวิชาต้องไปจัดล�ำดับเนื้อหาด้วยตนเอง และต้องให้สอดคล้องกับ Theme หรือปรากฏการณ์ที่เลือก 3. วิเคราะห์เครื่องมือ/สื่อที่สนับสนุนการเรียน การสอน ครูสามารถใช้พื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน นอกโรงเรียน หรือในชุมชน เพื่อเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้เกิดแรงจูงใจและ เห็นความส�ำคัญของประเด็นการเรียนรู้ อาจรวมไปถึงการพัฒนา เอกสารการสอน หรือน�ำเอกสารการสอนเดิมมาวิเคราะห์ดูว่า ใช้ร่วมกันได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งสื่ออื่นๆที่จ�ำเป็นในการสนับสนุน การเรียนการสอน หรือหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกที่มีองค์ความรู้ ในประเด็นเรียนรู้ที่เราก�ำหนด เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความหลากหลาย ของการสอน และสัมผัสกับเจ้าของอาชีพหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น กรณีประเด็นเรียนรู้เรื่อง “น�้ำเสีย” สามารถเชิญฝ่ายสิ่งแวดล้อม/ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม/กรมควบคุมมลพิษ/เครือข่าย การจัดการน�้ำภาคประชาชน/มูลนิธิอุทกพัฒน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1