นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

5 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 อนาคตของไมโครพลาสติก กิจกรรม ไมโครพลาสติกในแหล่งน�้ำ ปัจจุบันทั่วโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจาก ไมโครพลาสติก ที่ส่งผลกระทบตอสิ่งแวดลอมอย่างกว้างขวาง จึงน�ำไปสู่ความพยายามทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เริ่มจากปี พ.ศ. 2555 ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปบางประเทศได้เริ่มรณรงค์ให้ประชาชน ตระหนักถึงผลกระทบและอันตราย จากการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีไมโครพลาสติกประเภทเม็ดไมโครบีดส์เป็นส่วนผสม ในการประชุม G7 ปี พ.ศ. 2558 ผู้น�ำจาก นานาประเทศแสดงความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการของเสีย และหาทางแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติก ซึ่งน�ำไปสู่ความตกลงกันเพื่อให้สู่เป้าหมายการป้องกัน และ ลดมลพิษในทะเลทุกชนิดภายในปีพ.ศ. 2568ตามเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 สภาผู้แทนราษฎร สหรัฐอเมริกาได้ผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการปลอดเม็ด ไมโครบีดส์ในแหล่งน�้ำ (The Microbead-Free Waters Act 2015) มีผลบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกาโดยมีการห้ามผลิตในปี ค.ศ. 2017 และจัดจําหน่าย รวมถึงขายผลิตภัณฑ์ที่มีเม็ด ไมโครบีดส์เป็นส่วนประกอบในปี ค.ศ. 2018 ส�ำหรับประเทศไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ท�ำงานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ในการแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ช่วยกันลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีไมโครบีดส์เป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นการด�ำเนินการให้ สอดคล้องตามแผนการท�ำงานในการก�ำจัดขยะพลาสติก ปี พ.ศ. 2561-2563 โดยในประเทศไทยได้ก�ำหนดให้เลิก ใช้ไมโครบีดส์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จากปัญหาไมโครพลาสติกดังกล่าว เรามาลองท�ำ กิจกรรมกันดีกว่าว่า ในแหล่งน�้ำของเรามีการปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติกหรือไม่ 1. ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน�้ำ 1. เตรียมขวดน�้ำขนาด 1 ลิตร และล้างให้สะอาด 2. เก็บตัวอย่างน�้ำที่ผิวน�้ำ โดยจุ่มขวดลงในน�้ำ แล้วเอียงขวดอย่างช้าๆ จนขวดตั้งตรงเพื่อ เติมน�้ำให้เต็มและก�ำจัดฟองอากาศออก 3. ปิดฝาขวดและเขียนข้อมูล สถานที่ วัน เวลา ที่ เก็บน�้ำตัวอย่างลงบนขวดเก็บตัวอย่าง 4. น�ำตัวอย่างน�้ำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง และ ถ้าน�้ำตัวอย่างมีตะกอน ให้ตั้งทิ้งไว้เพื่อให้ ตกตะกอน ก่อนที่จะด�ำเนินการทดลองต่อไป 2. ขั้นตอนการกรอง เป็นการแยกไมโครพลาสติก ออกจากตัวอย่างน�้ำ โดยใช้เทคนิคการกรองด้วย ระบบสุญญากาศ ดังภาพ 5 วัสดุอุปกรณ์ วิธีด�ำเนินการ ภาพ 5 ชุดกรองระบบสุญญากาศ 1. ขวดน�้ำขนาด 1 ลิตร 2. ชุดกรองระบบสุญญากาศ 3. กระดาษกรองขนาด 0.45 ไมโครเมตร 4. จานเพาะเชื้อ 5. ปากคีบ 6. เครื่องชั่ง (ทศนิยม 4 ต�ำแหน่ง) จุดต่อปั๊มลมสุญญากาศ กระดาษกรอง ถ้วยกรอง ที่หนีบ ขวดรูปชมพู่

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1