นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
50 นิตยสาร สสวท ภาพ 7 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.กระทรวงมหาดไทย พร้อม ด้วยหัวหน้าหน่วยราชการ ร่วมกิจกรรมการบ�ำบัดน�้ำเสีย ในคลองอีแว เขตประเวศ กทม. ภาพ 8 กิจกรรมการทดลองเก็บข้อมูลน�้ำเสียในสถานที่จริง ภาพ 9 การน�ำเสนอผลงาน 4. วางแผนการด�ำเนินการเรียนการสอน ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ช่วงไหน จะให้เนื้อหา ช่วงไหนจะเพิ่มทักษะด้านใด ใครเป็นคนจัดการ (โดยระบุตัวบุคคล) เพื่อให้เกิดการท�ำงานที่สอดคล้องกัน รวมถึง แผนส�ำรองที่ควรมีไว้กรณีครูติดราชการ 5. วัดผลและการประเมินผล การก�ำหนดงาน ภาระงาน ของผู้เรียนมีความจ�ำเป็น เพื่อน�ำมาก�ำหนดคะแนนและน�ำไปสู่ การประเมินผล ทั้งนี้ชิ้นงานที่ท�ำส่งครูควรเป็นชิ้นงานที่เกิดขึ้นจาก การเรียนรู้ของผู้เรียนเอง และควรเป็นชิ้นงานที่ทุกวิชาสามารถให้ คะแนนร่วมกันได้ เช่น • กรณีการสร้าง Model การแก้ปัญหาน�้ำหลาก • วิชาคณิตศาสตร์ สามารถวัดได้จากเรื่องการ ค�ำนวณพื้นที่ ปริมาตร การวัด ซึ่งอาจเป็นใน รูปแบบการสัมภาษณ์จากความเข้าใจก็ได้ • วิชาวิทยาศาสตร์ สามารถวัดได้จากเรื่อง การ เคลื่อนที่ ความเร็ว ความเร่ง การกระจัด ชิ้นงานอาจได้จากการท�ำโครงงานก็ได้ซึ่งในช่วงท้ายของเทอมอาจมีเวลาเหลือให้ผู้เรียนได้ท�ำโครงงานดังนั้นแต่ละวิชา ที่เข้าร่วมในการจัดการเรียนการสอนแบบปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ สามารถเก็บคะแนนจากชิ้นงาน การสอบปากเปล่า รูปแบบการน�ำเสนอ ปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ (Phenomenon - Based Learning) จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา เอื้ออ�ำนวยให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งประเทศฟินแลนด์ น�ำมาใช้และประสบความส�ำเร็จมาโดยตลอด บรรณานุกรม Silander, P. (2015a). Digital Pedagogy. How to create the school of the future: Revolutionary thinking and design from Finland .Oulu: University of Oulu, Center for Internet Excellence. Silander, P. (2015b). Phenomenon Based Learning. Retrieved May 22, 2017, from http://www.phenomenoleducation.info/phenomenon-based- learning.html. พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท. 46 (209), 40-45.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1