นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562
52 นิตยสาร สสวท จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2000 Paul Serano ได้ขุดพบซากฟอสซิลของจระเข้ที่ ทะเลทราย Gadoufaoua ในประเทศ Niger ซากที่พบมีอายุ 110 ล้านปี ซึ่งอยู่ในยุค Cretaceous มีความยาว 13 เมตร และหนัก 10 ตัน ข้อสังเกตหนึ่งเกี่ยวกับเพศของจระเข้ คือ อุณหภูมิ ของไข่เป็นตัวก�ำหนดเพศของจระเข้ ที่สวนสาธารณะ Palo Verde ซึ่งอยู่ใกล้แม่น�้ำ Tarcoles คณะนักวิจัยภายใต้การน�ำ ของ Murray ในปี ค.ศ. 2015 ได้พบว่า ตลอดเวลา 20 ปีที่ ผ่านมา อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของสถานที่นั้นเพิ่มขึ้นถึง 2.5 องศา เซลเซียส เพื่อเป็นการยืนยัน Murray ได้น�ำอุปกรณ์บันทึก อุณหภูมิไปวางในรังของจระเข้ 25 รัง เพื่อทดสอบว่า อุณหภูมิ สูงคือสาเหตุที่ท�ำให้จระเข้เพศเมียถือก�ำเนิดมากกว่าเพศผู้ เป็นจริงหรือไม่ และหวังว่าหลังการฟัก จ�ำนวนเพศเมีย : เพศผู้ น่าจะมีค่ามากเป็น 2 : 1 แต่กลับพบว่าปัจจัยที่ท�ำให้อัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย มีค่าเป็น 3.5 : 1 ไม่ได้มาจากอุณหภูมิแวดล้อม เขาจึงต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม และพบว่าในบริเวณโดยรอบ สวนสาธารณะนั้นมีฟาร์มเลี้ยงปลา Tilapia หลายฟาร์ม และ ชาวประมงนิยมใช้ MT เป็นอาหารเสริม จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า MT น่าจะมีอิทธิพลในการแปลงเพศของจระเข้ ในการทดสอบสมมติฐานนี้ คณะนักวิจัยได้ใช้สัตว์ ทดลองคือ Alligator ( Alligator Mississippiensis ) ซึ่งเป็นสัตว์ ในสกุลเดียวกันกับจระเข้ แล้วเตรียมฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น ต่างกัน 3 ระดับ เพื่อใช้กับไข่ของ Alligator จากนั้นฟักไข่ที่ อุณหภูมิสูง ซึ่งน่าจะให้เพศเมียทั้งหมด แต่กลับพบว่า 60% ของไข่ที่มี MT ในปริมาณมากกลับให้เพศผู้ นั่นแสดงว่า MT มีผลในการเกิดเป็นเพศผู้ในสัตว์สกุล Crocodilian เมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2018 ทีมวิจัยได้พบสาร MT ในเลือด และในไข่แดงของจระเข้ที่ Palo Verde แสดงว่า จระเข้เหล่านี้ยังได้รับฮอร์โมน MT ส�ำหรับปริศนาที่มาของฮอร์โมน MT ที่พบในจระเข้ นั้นยังไม่มีค�ำตอบชัดเจน เพราะ MT ไม่สามารถเกิดได้เอง ตามธรรมชาติ Murray เสนอว่าฟาร์มปลาเป็นแหล่งก�ำเนิด ของ MT ในสิ่งแวดล้อม และอาจเป็นไปได้ว่าปลาหลุดออก จากฟาร์มแล้วถูกจระเข้กิน ท�ำให้ MT เข้าสู่ตัวจระเข้ ซึ่งจะ เก็บสารนี้ในลักษณะของไขมัน เมื่อตัวเมียวางไข่ ฮอร์โมน MT ก็จะถูกส่งต่อไปยังตัวอ่อน คณะนักวิจัยได้ศึกษาหาแหล่งอื่นที่จะอาจเป็น แหล่งที่มาของ MT ในสิ่งแวดล้อม จึงขยายขอบเขตการตรวจ สอบหา MT ในบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากสวนสาธารณะออกไป ภาพ 2 ซากฟอสซิลของจระเข้ที่ทะเลทราย Gadoufaoua ในประเทศ Niger ที่มา https://paulsereno.uchicago.edu/exhibits_casts/african_crocs/sarcosuchus/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1