นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

58 นิตยสาร สสวท QUIZ สวัสดี ผู้อ่านทุกๆ คน เผลอประเดี๋ยวเดียว วันหยุดปิดเทอมก็หมดลงแล้ว ในเดือนนี้ต่ายมีข่าวดีๆ มาย�้ำกับผู้อ่าน ก็คือ มีสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ก�ำหนดนโยบายในการบริหารประเทศและนักธุรกิจ ได้มองเห็นความส�ำคัญของสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมคนไทยทั้งประเทศไทยแล้ว โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 นี้ ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อจะยกเลิก การแจกถุงพลาสติกให้กับลูกค้าแล้ว และรัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จะยกเลิกการแจก ถุงพลาสติกในตลาดสดด้วย โดยจะใช้ทั้งการรณรงค์ขอความร่วมมือและออกกฎหมายมาบังคับใช้ แม้ว่าสิ่งนี้จะเริ่มต้นช้ากว่า 127 ประเทศที่ได้ท�ำการประกาศห้ามใช้ไปแล้ว และอีกข่าวก็คือ ข่าวการประกาศจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีมติยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นี้ แต่เรื่องนี้ยังคงไม่จบ เพราะว่ามีตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกรผู้สนับสนุนการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ จะยื่นค�ำร้องขอต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ ศาลถอดถอนมติการยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ต่ายและคุณๆ คงต้องนั่งรอลุ้นกันต่อว่า นโยบายนี้สุดท้ายจะมองเรื่อง ผลประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกรผู้สนับสนุนการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด กับผลประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยของอาหารของ คนไทยทั้งประเทศที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษตกค้างจากการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ในภาคการเกษตร ย้อนกลับมาเรื่องพลาสติก แม้ว่าในส่วนของการก�ำหนดนโยบายได้ตระหนักและลงมือปฏิบัติแล้ว ในส่วนของ ภาคประชาชนก็คงต้องช่วยกันอีกแรง คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภค ความพยายามในการลดการใช้ถุงพลาสติก เท่าที่ท�ำได้ เนื่องจากพลาสติกที่อ้างว่าถูกน�ำไปรีไซเคิลนั้น ในทางปฏิบัติท�ำได้น้อยกว่า 50% ของขยะพลาสติกทั่วโลก และในอีกหลายที่ยังคงก�ำจัดขยะพลาสติกด้วยการเผา ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตนเองและสิ่งแวดล้อม ต่ายเชื่อว่า ถ้าทุกๆ คนช่วยกันคนละนิด อย่างน้อยใน 1 วัน คนไทย ทั้งประเทศน่าจะลดการใช้ถุงพลาสติก แก้วน�้ำพลาสติก และหลอด ลงได้อย่างน้อย 60 ล้านชิ้นต่อวัน ดังนั้น ขยะพลาสติกยังคงจะเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วยไปอีกนาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ยังเป็นปัญหา ที่หลายคน มองข้ามก็คือ หลอดพลาสติก เพราะเป็นพลาสติกที่ไม่มี การน�ำกลับมารีไซเคิลใหม่ เนื่องจาก ในวงจรการรีไซเคิล จะต้องอาศัยการเก็บขยะพลาสติกไปท�ำความสะอาด ท�ำให้แห้ง และน�ำมาชั่งน�้ำหนักขายอีกครั้ง หลอดพลาสติก เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงานในขั้นตอนดังกล่าว เพราะว่า รูปทรงของมันเองท�ำให้เกิดความยุ่งยากในการล้างท�ำ ความสะอาดและน�้ำหนักอันเบาหวิว ท�ำให้ไม่มีแรงจูงใจ ในการเก็บน�ำมาชั่งน�้ำหนักขาย

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1