นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562

59 ปีที่ 47 ฉบับที่ 220 กันยายน - ตุลาคม 2562 ต่าย แสนซน มีแต่มนุษย์เท่านั้นแหล่ะที่สร้างขยะ ที่ธรรมชาติไม่สามารถย่อยสลายได้ - Charles Moore - ภาพ หลอดที่ท�ำจากอ้อยที่คิดและผลิตจากกลุ่มธุรกิจ Startup ชาวไต้หวัน และจดสิธิบัตรเรียบร้อย โดยเริ่มส่งขายไปยัง ประเทศต่างๆ แล้ว ที่มา https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3575292 ที่ต่ายถามคุณๆ ไปว่า ผู้คนในทวีปใดที่ให้ความส�ำคัญกับปัญหาขยะพลาสติก และมีจ�ำนวนประเทศที่ออก กฎหมายห้ามการใช้พลาสติกในประเทศอย่างเด็ดขาดจ�ำนวนมากที่สุด ค�ำตอบก็คือ ทวีปแอฟริกาจ้า มีประเทศ Tanzania, Rwanda, Kenya, Mali, Cameroon, Uganda, Ethiopia, Malawi, Morocco, South Africa, Botswana และฉบับนี้ก็ไม่มี ผู้ที่ตอบถูกอีกเช่นเคย ไม่เป็นไร ต่ายเชื่อว่าฉบับหน้าต้องมีคนเก่งๆ เข้ามาร่วมสนุกกับต่ายอย่างแน่นอน จากเรื่องที่เล่ามาเกี่ยวกับนโยบายการประกาศเลิกใช้พลาสติกแบบ ถุงหิ้วในห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อหลายแบรนด์ คุณคิดว่า คุณจะมี ส่วนร่วมในการลดการสร้างขยะพลาสติกได้อย่างไรบ้าง และใน 1 ปี คุณจะช่วย ลดการสร้างขยะได้กี่ชิ้น เมื่อหาค�ำตอบได้แล้ว ก็ส่ง Email มาแชร์ให้ต่ายได้อ่าน และน�ำมาเผยแพร่แนวคิดที่เจ๋งๆ และเป็นไปได้ ที่ funny_rabbit@live.co.uk ภายในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยต้องใส่ที่อยู่ที่จะให้จัดส่งของรางวัล ของคุณมาให้เรียบร้อย และเช่นเดิม ถ้าคุณอยากให้ต่ายส่งสื่อเล็กๆ น้อยๆ จาก สสวท. ไปให้โรงเรียน (นอกเหนือจากของรางวัลที่คุณจะได้รับ) ช่วยเขียน ชื่อโรงเรียนที่ต้องการให้ต่ายส่งของไปให้มาด้วย เพื่อที่โรงเรียนจะได้น�ำไปใช้ ในการเรียนการสอน ส�ำหรับเฉลยอ่านได้ในอีก 2 ฉบับหน้า คือฉบับที่ 222 จ้า ค�ำถาม ฉบับที่ 220 เป็นที่น่าดีใจของชาวไต้หวัน ที่ประเทศไต้หวันได้มีแผนในการก�ำหนดนโยบายในการห้ามการใช้หลอดพลาสติก คุณรู้ไหม พอรัฐบาลประกาศโครมออกมาเท่านั้นแหล่ะ KFC กับ McDonald ในไต้หวันได้ยกเลิกการใช้หลอดพลาสติกแล้ว ในขณะที่มาเลเซียได้ออกมาประกาศว่าจะเลิกใช้หลอดพลาสติกด้วย และ ณ วันที่ต่ายเขียนบทความฉบับนี้ ทั้งสองร้านได้ยกเลิก ค�ำถาม ฉบับที่ 218 การใช้หลอดพลาสติกไปแล้ว แต่ให้ลูกค้าใช้วิธีดื่มน�้ำจาก ฝาปิดที่มีรูเปิดเอาไว้ทางด้านข้างแทน (จากเดิมที่ฝาปิด จะมีรูเปิดตรงกลางเพื่อใส่หลอด) ต่ายได้ลองไปใช้บริการ ทั้งสองร้านนี้มาแล้ว ไม่พบว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ต่อการดื่ม น�้ำเลย นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณบวกที่พบได้ในร้านกาแฟอีก หลายร้านในเมืองไทเป ที่เปลี่ยนจากการใช้พลอดพลาสติก มาเป็นหลอดกระดาษ หรือหลอดที่ท�ำจากวัสดุทางธรรมชาติ อื่นๆ ต่ายได้ทดสอบโดยการใส่หลอดกังกล่าวแช่ทิ้งไว้ใน แก้วกาแฟและนั่งอ่านหนังสือ พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที หลอดกาแฟกระดาษยังคงใช้งานได้ดีและไม่มีการยุ่ยหรือ ย้วยแต่อย่างใด ต่ายหวังว่าผู้ผลิตหลอดพลาสติกในประเทศไทย จะหันมาสนใจผลิตหลอดแบบกระดาษ หรือจากวัสดุทาง ธรรมชาติอื่นๆ เพิ่มขึ้นในเร็ววันนี้ หลอดที่ผลิต จากอ้อยสีแดง หลอดที่ผลิต จากอ้อยสีขาว หลอดที่ผลิต จากกากกาแฟ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1