นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 222 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

24 นิตยสาร สสวท.ิ ต กา แก้้ัญหาเชิิงส างส์ (Creative Problem Solving) การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นที่่�ร ูักกันอย่างแพร่หลาย มีกลุ่มนักการศึกษาได้วิจัยและพัฒนาการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์มาตลอดเป็นระยะเวลาต่อเนื่องมากกว่า 50 ปี โดยผู้้ิเริ่มการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ คือ Osborn เมื่อปี ค.ศ. 1950 ได้เขียนกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ฉบับที่ 1 (CPS Version 1) ลงในหนังสือ Applied Imagination (Osborn, A. 1953) โดยมี 7 ขั้นตอนดังนี้ 1. การปฐมนิเทศ การกำ �หนดปัญหา (Orientation) 2. การจัดเตรียมรวบรวมข้อมูล (Preparation) 3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) 4. การสร้างสมมติฐาน(Hypothesis) 5. การบ่มเพาะความคิด (Incubation) 6. การสังเคราะห์ (synthesis) และ 7. การพิสูจน์ความจริง (Verification) (นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ� , 2553) จากนั้น Torrance and Myers (1970). ได้พัฒนากระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ฉบับที่ 2 (CPS Version 2) เป็น 5 ขั้นตอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 Osborn and Parnes (1977). ได้พัฒนากระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ฉบับที่ 3 (CPS Version 3) ที่เป็นวิธีการค้นหาคำ �ตอบที่่ัญหามีความั บ้ อน และทำ �ให้สามารถค้นพบแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมทีุ่่ด โดยมี 5 ขั้นตอน ซึ่่� งมีการปรับในบางขั้นตอนเดิม จากนั้น Isaksen and Parnes (1985). ได้พัฒนาเป็นฉบับที่ 4 (CPS Version 4) ปรับปรุงจาก 5 ขั้นตอนเดิมเป็น 6 ขั้นตอน และเปลี่ยนชื่อขั้นตอนในบางขั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 Treffinger, Isaksen and กา แก้ปัญหาเชิิงส างส์ (Creative Problem Solving) ในปัจจุบัน สังคมโลกมีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในหลายๆ ด้าน ทั� งการดำ �รงชีวิต การทำ �งาน รวมถึงการศึกษา ทำ �ให้ครูต้องเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมทั� งด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ จำ �เป็นในการดำ �รงชีวิต เพ่� อให้ทันต่อกระแสและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ� นในศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องปรับเปลี่ยน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัย ที่จะช่วยพัฒนาความสามารถและทักษะของนักเรียน เพ่� อให้นำ �สิ่งที่ได้เรียนรู้ ไปแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ� นในชีวิต การเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการดำ �รงชีวิตในศตวรรษที่ 21 จะต้องให้เกิดทักษะต่างๆ ในสาระวิชาหลัก 8 วิชา คือ 3R x 7C โดย 3R ประกอบด้วย อ่านออก (Reading) เขียนได้ (Writing) และ คิดเลขเป็น (Arithmetic) และ 7C ประกอบด้วย ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำ �งานเป็นทีมและภาวะผู้้ำ � (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการส่� อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันส่� อ (Communication, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่� อสาร (Computing and ICT Literacy) และทั กษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) (วิจารณ์ พานิช, 2558) จะเห็นได้ว่ามีทักษะที่่ำ �คัญหลายทักษะที่่้องพัฒนาให้กับผู้เรียน การเรียนการสอนจึงมีส่วนสำ �คัญที่่ำ �ให้ ผู้เรียนเกิดความสามารถและทักษะนั้นๆ โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่่่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะด้าน การสร้างสรรค์ คือ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving) เป็นการแก้ปัญหาที่หาคำ �ตอบจากสถานการณ์ ปัญหาที่คลุมเครือไม่ชัดเจน เป็นปัญหาที่่ำ �ไปสู่การสร้างแนวคิดที่หลากหลาย โดยผู้เรียนจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไป กับการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่และมีความหลากหลายของคำ �ตอบ จากนั้นเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แล้วนำ �ไปใช้แก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ • อาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต • e-mail: ashodae_bell@hotmail.com รอบร้� คณิิต

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1