นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 223 มีนาคม - เมษายน 2563
16 นิตยสาร สสวท.ิ ต 2. ผู้สอนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันสรุปผลการสังเกต ึ่งควรได้ว่าลูกโป่งจะเคลื่อนที่แบบไม่มีทิศทางที่แน่นอน เนื่องจากปากลูกโป่งสะบัดไปมา ถ้าต้องการบังคับทิศทางของลูกโป่งอาจนำ �เชือกมาใช้นำ �ทาง จากนั้นสาธิต ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สังเกตการเคลื่อนที่ของลูกโป่งเมื่อเคลื่อนที่ไปตามเส้นเชือก 3. ผู้สอนกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันอภิปรายต่อไปว่า ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างไร ในการอธิบายให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจ ผู้สอนอาจแยกการอธิบายตามพื้นฐานของวัยหรือระดับการศึกษาดังนี้ ในกรณีที่เป็นเด็กในระดับประถมศึกษา ผู้สอนอาจอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายภาพที่เด็ก สังเกตเห็นได้ว่า เนื่องจากยางที่ใช้ทำ �ลูกโป่งมีสมบัติ ยืดหยุ่น เมื่อเป่าลูกโป่งให้พองแล้วปล่อย ยางจะหด กลับคืน จึงบีบอากาศที่อยู่่้านในลูกโป่งให้พุ่งออก มาทางปากลูกโป่ง ลมที่่�พ งออกมาสามารถดันให้ ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปด้านหน้าได้ ถ้าเป็นเด็กในระดับมัธยมศึกษา ผู้สอน อาจจะเริ่มต้นอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกับเด็กระดับ ประถมศึกษา แล้วจึงอธิบายด้วยกฎการเคลื่อนที่ ข้อที่สามของนิวตัน นั่นคือ แรงกิริยาเท่ากับแรง ปฏิกิริยาแต่มีทิศทางตรงข้ามกัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น กับลูกโป่ง โดยมีลมที่่�พ งออกมาจากปากลูกโป่ง ทำ �ให้เกิดแรงกิริยา ในขณะเดียวกันก็จะเกิดแรง ปฏิกิริยาที่กระทำ �กับลูกโป่ง ทำ �ให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าได้ ภา 3 ลูกโป่งบีบอากาศด้านในให้พุ่งออกมา ทำ �ให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ภา 4 แรงปฏิกิริยาเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม กับลมที่่�พ งออกมาซึ่่� งเป็นแรงกิริยา ทำ �ให้ ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ภา 5 การเคลื่อนที่ของลูกโป่งกับจรวด ลมพุ่งออก แรงกิริยา แรงปฏิกิริยา 4. ผู้สอนเชื่อมโยงเรื่องการเคลื่อนที่ของลูกโป่งกับการเคลื่อนที่ของจรวดว่าใช้หลักการเดียวกัน แต่แตกต่างกัน ที่จรวดจะใช้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในจรวดขับดันให้จรวดพุ่งไปด้านหน้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1